แน็ต : สวัสดีค่ะ แน็ตจากเพจคนใจหมา วันนี้ช่วงคนใจหมา แขกรับเชิญเราวันนี้คือน้องแตงกว่า มากับปัญหาน้องหมาถ่ายเรี่ยราด ใช่ไหม?
แตงกวา : ใช่ค่ะ
แน็ต : ถ่ายเรี่ยราดแล้วก็หวงเจ้าของ
แตงกวา : ใช่ค่ะ
แน็ต : โอเคค่ะ แตงกวามีเวลา 15 นาที ว่ามาเลย
แตงกวา : คือใช้ทุกวิถีทางแล้วค่ะที่จะฝึกเขาแต่ก็ไม่เป็นผลเลย
แน็ต : อาฮะ คือเรื่องถ่ายใช่ไหม?
แตงกวา : ใช่ค่ะ เรื่องถ่าย
แน็ต : คือเขาถ่ายแบบเรี่ยราดไปเลยหรอ
แตงกวา : คือเขาจะฉี่แบบทั่วทุกที่ที่เขาจะฉี่ได้น่ะค่ะ เรี่ยราด แล้วก็หนูไม่กล้าปล่อยเขาเวลาหนูไม่อยู่บ้าน เพราะถ้ากลับมาปุ๊บคือจะเต็มยันที่นอนน่ะค่ะ ก็จะมี
แน็ต : โอ้โห นี่ตัวผู้หรือตัวเมียคะ?
แตงกวา : ตัวผู้ค่ะ
แน็ต : ตัวผู้ เขาวางอาณาเขตเยอะมากเลยนะ ถ้าเรื่องขับถ่ายเนี่ย มันจะช่วยได้อย่างหนึ่งคือเวลาเขากินข้าวเสร็จใช่ไหม เราก็ใส่สายจูงพาออกไปข้างนอกเลย ไปตรงจุดที่จะให้เขาถ่ายน่ะค่ะ 15 นาทีหลังจากที่กินข้าวอย่างนี้ ใส่สายจูงพาออกไปเลย แล้วเราก็ยืนรอจนกว่าเขาจะถ่าย คือไม่ต้องไปยืนลุ้นกับเขานะว่าแบบ อึสิลูกฉี่สิลูก ไม่ต้องไปยืนลุ้น แค่ยืนดูอยู่เฉยๆ แล้วให้เขาดมๆ ถ้าเขาไม่ฉี่ไม่อึอะไรก็รอไปจนกว่าจะฉี่น่ะค่ะ แต่แบบบางตัวมันไม่ชินฉี่ข้างนอกเนาะ ครึ่งชั่วโมงมันก็ไม่ถ่าย เราก็เอากลับเข้ามาในบ้าน แนะนำว่าให้อยู่ในกรงไปก่อน คือเรากำลังจะจำกัดสถานที่เขาแล้ว เพราะถ้าปล่อยออกไปข้างนอกนี่เดี๋ยวมันฉี่เรี่ยราดอีกแน่นอน ก็แนะนำว่าเอาไว้ในกรงแล้วจับตาดู เพราะว่าเดี๋ยวฉี่แน่อน
แตงกวา : ค่ะ
แน็ต : พอเราเห็นว่ามันตั้งท่าจะฉี่แล้ว คือเริ่มเดินวนๆ เริ่มดมทาง เริ่มดมหาจุดประจำเขาอะไรประมาณนี้ ก็แนะนำว่าถ้าเป็นหมาชิวาว่าใช่ไหม?
แตงกวา : ใช่ค่ะ ตัวใหญ่หน่อย กลายพันธุ์
แน็ต : กลายพันธุ์ โอเค นั่นแหละ ถ้าเป็นหมาเล็กพี่แนะนำให้เอา 2 นิ้วจิ้มเข้าสีข้างเขา จิ้มให้ตกใจ เหมือนหมามันตั้งใจจะฉี่แล้วน่ะ แล้วเราก็ไปจึ้กข้างๆเขา หมามันก็จะโอ๊ะ แล้วมันก็จะหยุด ถ้ามันอึอยู่ เราจิ้มไปจึ้ก มันก็จะเกิดการขี้หักใน มันก็จะหยุดค้างแบบ เอ๊ะ อะไรกันนี่ เมื่อนั้นเราก็ใส่สายจูงอุ้มมันออกไปข้างนอกเลย ไป ณ จุดประจำที่มันฉี่
แตงกวา : อย่างเวลาเขาจะขับถ่ายงี้ ตอนนั้นหนูฝึกวิธีที่ว่าพอเห็นเขาตั้งท่าปุ๊บ ให้อุ้มไปที่กระดาษหนังสือพิมพ์ ซึ่งพอจะเดินเข้าไปปุ๊บ เขาจะหยุดทันที แล้วก็ไปทำที่อื่นต่อตอนเราเผลอ
แน็ต : ใช่คือตอนนี้มันเป็นนิสัยของเขาแล้วที่เขาจะเลือกที่ถ่าย แต่เรากำลังจะปรับนิสัยเขา นั่นคือทำไมถึงให้อยู่ในกรง คือกินเสร็จปุ๊บ เราพาออกไปฉี่ ครึ่งชั่วโมงยังไม่ฉี่ยังไม่ถ่าย เราพากลับเข้ากรง แล้วก็สังเกตจากตรงนั้นน่ะ ว่าเมื่อไรมันเริ่มตั้งท่าจะฉี่ เมื่อนั้นเราก็เข้าไปจิ้มมัน หรือไม่ก็ใส่สายจูงพาออกไปเลย พาไปจุดที่จะให้ฉี่ ถ้าจะให้ฉี่ใส่แผ่นรองฉี่ เราก็ต้องมีจุดประจำให้เขานะ อย่าย้ายจุดบ่อย คือมีที่เดียวไปเลย ให้มันยืนอยู่ตรงนั้นเลย เอาเลยลูก เต็มที่เลย จัดหนักได้ พอถ่ายเสร็จแล้วเราค่อยเอาเข้ามา แล้วทีนี้เนี่ย ภายในบ้านน่ะ รบกวนต้องล้างด้วยเดทตอล กับไฮเตอร์ ผสมน้ำแล้วล้างเลย หรือไม่ก็ผสมน้ำส้มสายชูก็ได้ คือให้มันกลิ่นแรงๆ มันจะได้ไม่เหลือกลิ่นฉี่กลิ่นอึเขา เขาจะได้ไม่กลับมาฉี่อึที่เดิม
แตงกวา : ปกติก็ให้เขาอยู่แต่ในคอกค่ะ ไม่ค่อยได้ปล่อย เดทตอลนี่หนูใช้ประจำ ไม่เป็นผลเลยกับเขา เขามึนมาก อย่างทำหมันแล้วก็ยังไม่เรียบร้อยขึ้นเลย
แน็ต : เพราะเหมือนเรายอมแพ้ก่อนไหม? แบบไปยืนสัก 5 นาที ไม่ฉี่ไม่อึซะที ขี้เกียจรอแล้ว แล้วเราก็เดินไป แล้วหมาก็โอเค ฉันจะไปเลือกที่ฉี่ของฉันละนะ แต่คือช่วงแรกๆที่ทำน่ะ มันต้องใช้เวลาเลยจริงๆ เพราะมันไม่ใช่วิสัยหมาแล้วไง ทุกทีหมาจะเลือกที่ฉี่ แต่ตอนนี้เรากำลังจะบอกเขาแล้วว่าให้ฉี่ตรงนี้นะ คือพยายามกินเสร็จแล้วอย่าปล่อยให้เดินไปเดินมา กินเสร็จแล้วก็คือใส่สายจูงพาเดินออกไปจุดที่อยากให้ฉี่ให้ถ่ายเลย ส่วนใหญ่ภายใน 15 นาทีหมาจะถ่ายออกมา จะเป็นอึเป็นฉี่อะไรเขาจะถ่ายหลังจากตรงนั้น
แตงกวา : ค่ะ
แน็ต : แล้วถ้ายังไม่ถ่ายอีกก็เอาเข้ากรง หรือจำกัดสถานที่เขาไว้น่ะ เพื่อที่มันจะได้ไม่ไปเดินฉี่เรี่ยราดอะไรประมาณนั้น แล้วก็ไอ้ตรงนี้เจ้าของต้องสังเกตแล้วแหละว่ามันตั้งท่าเมื่อไร
แตงกวา : โอเค บ้านหนูมันเป็นตึกแถวน่ะค่ะ มันไม่ได้มีบริเวณหน้าบ้านหรืออะไรที่เขาจะสามารถไปเดินได้ เพราะข้างหน้าก็เป็นถนนเลย ซึ่งหนูอาจจะลองพาเขาไปเดินเล่นบนดาดฟ้า ซึ่งมันก็ไม่ได้กว้างมากขนาดนั้นที่จะสำรวจอะไรได้มากมาย
แน็ต : มันไม่เชิงให้เขาสำรวจหรอก แต่มันเป็นเหมือนจุดที่เราบอกให้เขาถ่ายน่ะ อย่างบางคนที่เขาอยู่ในอพาร์ทเมนต์อย่างนี้เขาก็จะมีถาดรองสำหรับห้องน้ำหมาใช่ไหม แล้วเขาเอาไว้ในห้องน้ำคนน่ะ แล้วก็จะเป็นจุดเลย หมาก็จะรู้เลยว่า โอเค ปวดฉี่ปวดอึต้องมาจุดนี้
แตงกวา : อ๋อ ค่ะ
แน็ต : คือมันไม่จำเป็นต้องไปข้างนอก คือที่พูดว่าให้ไปข้างนอกเพราะนึกว่าบ้านตัวเองมีเนื้อที่ ถ้าไม่มีก็หาจุด แต่ต้องเป็นจุดประจำ มุมประจำ ทุกอย่างต้องที่เดิมนะ อย่าไปย้าย ย้ายปุ๊บหมางงทันทีเลย ตกลงจะให้อึที่ไหนเนี่ย
แตงกวา : ถาดซื้อมาให้ตั้งหลายร้อยบาทก็ไม่ใช่ ฉี่ทุกที่ยกเว้นที่ถาด
แน็ต : นั่นแหละ คือเราต้องจับให้ทัน แต่ส่วนใหญ่เจ้าของจะจับไม่ทัน แต่ถ้าดูภาษากายเขาน่ะ หมาจะฉี่จะอึจะท่าเดียวกันหมด คือเขาจะเริ่มดมแล้ว ถ้าเห็นตั้งท่าแล้วเริ่มดมๆเมื่อไร เมื่อนั้นแหละเขากำลังหาที่ หามุมเหมาะ ว่าวันนี้อากาศแบบนี้ ถ้าอยู่มุมนี้ ฉันจะขี้สวยนะอะไรประมาณนี้ แต่เราคือจะสอนเข้าว่า ไม่ใช่นะเว้ย บ้านฉันไม่ใช่บ้านแก แกจะฉี่ แกจะอึ มาอึตรงนี้ มันต้องใช้เวลานะ ต้องเข้าใจนะว่ามันไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถแก้ได้ภายในวันสองวัเน อาจจะเป็นอาทิตย์หรือสองอาทิตย์ แต่เจ้าของต้องทำทุกวัน เพื่อที่หมาจะได้รู้ว่า โอเค ต่อไปนี้เราต้องฉี่แบบนี้
แตงกวา : ค่ะ
แน็ต : ถ้าเผื่อเราฝึกแค่วันสองวัน แล้ววันที่สามเราปล่อยเค้าตามใจอีก หมามันก็จะเกิดการงงแล้วว่าตกลงจะเอายังไง
แตงกวา : ค่ะ เข้าใจค่ะ
แน็ต : เราต้องฝึกจนกว่าเขาจะเรียนรู้ที่จะเดินไปฉี่เองน่ะ
แตงกวา : ใช้ความอดทนสูงมากกับตัวนี้ แสบมาก
แน็ต : ถูกต้องค่ะ คือฝึกหมาน่ะมันเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความอดทนอยู่แล้วล่ะค่ะ
แตงกวา : ค่ะ
แน็ต : นั่นแหละ แล้วปัญหาที่สองคืออะไรนะ
แตงกวา : หวงเจ้าของมาก ถ้าหนูไม่อยู่ด้วยเขาจะน่ารัก จะเล่นกับคนอื่นได้ แต่ถ้าเห็นหนูเมื่อไรปุ๊บ เขาจะกลายเป็นหมาดุทันทีค่ะ ถ้าเห็นใครทำท่าจะแตะตัวหนู เข้าใกล้ หรือคิดว่าคนอื่นตะคอกอะไรอย่างนี้ เขาจะพุ่งกัดเลย กัดจริงๆ กัดไม่ปล่อย อะไรอย่างนี้
แน็ต : โอเค อันนี้มันเหมือนตัวเองเป็นตัวกระตุ้นหมาแล้ว ไม่ใช่อย่างอื่น พี่แนะนำนะ เนื่องจากเขาเป็นหมาตัวเล็ก
แตงกวา : ก็ไม่เล็กเท่าไร หลายโลอยู่ ประมาณเกือบๆชิสุน่ะค่ะ
แน็ต : ก็ยังเล็กอยู่ ยังไม่ใหญ่มาก คือเอางี้ เวลาตัวเองอุ้มหมา อุ้มท่าไหน?
แตงกวา : อุ้มอย่างนี้ค่ะ อุ้มหนีบข้าง ถ้าเป็นตัวนี้เพราะเขาตัวใหญ่
แน็ต : อ๋อ อุ้มหนีบข้าง ไม่ได้อุ้มเหมือนเด็กใช่ไหม
แตงกวา : ค่ะ มันแล้วแต่ช่วง แล้วแต่จังหวะเวลาค่ะ แล้วแต่โอกาส บางทีถ้าอุ้มตัวเดียวก็จะอุ้มแบบเด็ก แต่ถ้าอุ้มสองตัว ซึ่งส่วนใหญ่ก็อุ้มสองตัวอยู่แล้ว ก็จะอุ้มข้าง อุ้มฝั่งละตัวค่ะ
แน็ต : โอเค พี่แนะนำว่า เวลาอุ้มหมาอย่าอุ้มเหมือนเด็ก เพราะพออุ้มเหมือนเด็ก เรากำลังจะบอกให้เขาอยู่เหนือเรา
แตงกวา : อ๋อ ค่ะ
แน็ต : ฉะนั้นให้อุ้มข้างๆ แบบนี้เนาะ เรากำลังจะบอกเขาว่าเราเหนือเขา เอามือช้อนตรงหน้าอกเขา เสริมสร้างความมั่นใจในตัวหมานิดหนึ่ง ว่าอยู่ตรงนี้ได้ ฉันไม่ปล่อยแกตกไปแน่นอน ทีนี้เราค่อยๆให้คนเข้ามา คือคนเข้ามาหาก็อย่ากลัวๆนะ คือเข้ามาก็คือเดินเข้ามาเลย แล้วถ้าหมาเราเริ่มที่จะคำรามเริ่มขู่อะไรแบบนี้ สองนิ้ว จิ้มสีข้างมันเลย
แตงกวา : จิ้มมันเลย อ๋อ
แน็ต : ไม่ได้จิ้มเบาๆนะ คือเราจิ้มให้เขารู้ว่า อันนี้มันไม่โอเค
แตงกวา : ค่ะ
แน็ต : จะตีก็ได้ แต่พี่ไม่อยากให้ตีรัวๆแบบนั้น คือต้องตีป้าบเดียว แล้วดูสิว่ามันหยุดไหม ถ้าเขาหยุด จบเลย ถ้าเขาไม่หยุดแล้วยังขู่ต่อ อันนี้ก็อีกป้าบหนึ่งได้ แต่เราไม่อยากให้เหมือนตีเล่นๆนะ ถ้าตีแบบลงโทษจริงๆก็คือต้องจริงจัง ให้เขารู้ว่าอันนี้มันไม่โอเค อันนี้เราก็จะเป็นจ่าฝูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่งแล้ว
แตงกวา : ค่ะ
แน็ต : ส่วนใหญ่เรื่องหมาหวงเจ้าของจะแก้แบบนี้ คืออุ้มข้างๆเนาะ แล้วเราเป็นคนบอกเองว่าจะให้ใครเข้ามาหาเรา ไม่ใช่หมาเป็นคนบอกว่าจะให้ใครเข้ามาหา
แตงกวา : อันนี้เหมือนเป็นนิสัยของเขามาตั้งแต่ตอนหนูซื้อมาเลยค่ะ เพราะว่าซื้อมาเนี่ย เหมือนมีลูกค้าไปดูหมาที่ร้าน เขาไม่เอาใครเลย ไม่ยุ่งกับใครเลย อยู่ตัวคนเดียว แต่พอกับหนูมันเหมือนมีอะไร spark กัน พอตอนอุ้มกลับไป มีคนเห็นว่าน่ารักจะมาจับ เขาก็จะแง่งตั้งแต่ตัวน้อยๆเลยนะคะ ไม่ให้จับน่ะค่ะ
แน็ต : แล้วคือเวลามันเกิดเหตุการณ์แบบนั้นเราทำอย่างไร?
แตงกวา : หนูก็ดุเขา แบบอย่าลูก! แบบทำเสียงขู่ ทำเสียงข่มให้เขาตกใจ
แน็ต : อ๋อ โอเค เรามีแบบประมาณว่า อุ้มๆเขาอยู่ มีคนจะเข้ามาหาแล้วหมาขู่ แล้วเรามีลูบหัวเขาไหม? แล้วก็คุยดีๆกับเขาแบบ อย่าน้า ไม่เอาน้า
แตงกวา : ไม่นะคะ ก็จะดึงเข้ามาแล้วบอก อย่าลูก อย่าขู่ แล้วก็ปิดปากไว้ถ้าเขาเห่ามากๆ
แน็ต : โอเคๆ ทำอย่างนั้นก็ถูกแล้วแหละ เพราะเจ้าของส่วนใหญ่จะชอบอุ้มหมาแล้วก็เอาหมามาลูบ แบบอย่านะลูก ไม่เห่านะลูก อะไรอย่างนี้ ในความคิดของหมาคือเรากำลังส่งเสริมการกระทำนั้น
แตงกวา : อ๋อ คือคิดว่าเขาทำถูกใช่ไหมคะ?
แน็ต : ใช่ เขาจะคิดว่าเขาทำถูก เพราะมันก็คือการกระทำเดียวกับเวลาที่เราไปเล่นกับเขา เพราะเขาฟังคำพูดเราไม่ออกถูกไหม เขาไม่รู้หรอกว่าเราพูดอะไร เราพูดคำว่ากล้วยแต่เราลูบหัวมัน มันก็เข้าใจว่ามันทำดี เรพาะฉะนั้นพลังงานจากข้างในของเราคือตัวสื่อสารกับเขา ถ้าขู่ปุ๊บ สองนิ้วจิ้มเข้าสีข้างเลย อย่าไปจิ้มข้างหน้านะ เพราะหมาเวลาแบบมันอยู่ในโหมดที่เขาต่อสู้น่ะ ข้างหน้ามันจะแข็ง กล้ามเนื้อจะขึ้นเป็นมัดเลย จิ้มให้ตายก็ไม่รู้สึกหรอก แต่ถ้าสีข้างอย่างนี้ ซี่โครงข้างหลังน่ะ มันไม่ค่อยมีกล้ามเนื้ออะไรมาก จิ้มจึ้กตรงนั้นไปเลย จิ้มให้หยุด
แตงกวา : ค่ะ อันนี้รวมถึงเรื่องเวลาคนตะคอกดุหรือชี้หน้าด้วยไหมคะ?
แน็ต : ได้หมด คือเขาอยู่ในโหมดปกป้องเราไง ทำไมเขาอยู่ในโหมดปกป้องเรา เพราะเขามีความรู้สึกว่าเราปกป้องตัวเองไม่ได้ หรือเราปกป้องเขาไม่ได้ เขาเลยต้อง step up ขึ้นมาเพื่อเป็นคนปกป้องเราแทน
แตงกวา : แต่เวลาสมมติคนอื่นตะคอก อย่างเวลาแม่หนูดุเขาหรือชี้หน้าเขาอย่างนี้ คือหนูไม่ได้อุ้มเขาอยู่นะคะ คืออาจจะปล่อยวิ่งอยู่ในห้อง หนูนอนเล่นอยู่บนเตียง แม่ทำนู่นทำนี่ แล้วเขาทำอะไรผิด แม่ดุปุ๊บ ตะคอกหรือชี้หน้าอะไรอย่างนี้ เขาก็พร้อมที่จะพุ่งเลย
แน็ต : ใช่ ก้คือเขาพร้อมสู้ อันนี้คือคุณแม่ไม่ควรที่จะเดินหนีนะ
แตงกวา : แม่ไม่เดินหนีค่ะ แม่ก็จะเรียกหนู พอหนูได้ยินเสียงเขาหนูก็จะลุกละ แล้วก็วิ่งไปกระชากหรือไปดึงเขา อะไรอย่างนี้ค่ะ เพราะเขาเคยกัด กัดสะบัดเลยนะคะ กัดไม่ปล่อย
แน็ต : ถ้าเกิดเหตุการณ์กัดไม่ปล่อยใช่ไหม ให้จับหนังคอข้างหลังแล้วดึงขึ้น อย่าดึงไปข้างหลังนะ ยกมันขึ้นมาเลย ตัวเล็กๆอ่ะยกง่าย ยกมันขึ้นมาเลย จนกว่าเขาจะปล่อย พอเราปล่อยปุ๊บให้กดเขาลงนอน ให้เขาอยู่ในท่ายอมแพ้น่ะ หงายท้อง
แตงกวา : หงายท้อง
แน็ต : โดยที่แม่อยู่ตรงนั้นด้วยนะ มันเหมือนเรากำลังบังคับหมาให้ขอโทษแม่ละ
แตงกวา : มันไม่ค่อยยอม แต่หนูก็ไม่เคยจับมันหงายท้องด้วยมั้ง เขาไม่ยอมนอนหงายท้อง
แน็ต : หมามันนอนหงายท้องได้หลายกรณี กรณีหนึ่งคือ เพราะมันร้อนหลังแค่นั้นเอง มันเย็นท้องมันก็นอนหงายใช่ไหม ถ้าหมาที่ดุกว่าเข้ามา เขาก็จะนอนหงายยอมแพ้ เพราะฉะนั้นพี่ต้องการให้น้องกดเพื่อให้มันอยู่ในท่านั้น ถึงเขาไม่อยู่นะ เราก็ใช้วิธี อธิบายยังไงดี สมมตินี่คือหมาใช่ไหม เวลากดมันลงเราใช้มือทำ 2 นิ้วแบบนี้กดตรงนี้ นี่คือขอใช่ไหม เอาระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วกลางกดลงไปเลย 2 นิ้ว กดลงไป คือกดให้อยู่กับพื้น เขาก็จะตีเตะนู่นนี่นั่นแล้ว แต่เรายังคุมตรงนี้ได้อยู่ เราก็กดลงไปเลย จนกว่ามันจะนิ่ง จนกว่าเขาจะ relax นั่นคืออะไร ปากเขาจะแลบลิ้นออกมา หน้าเขาผ่อนคลายขึ้นน่ะ อันนี้คือเขายอมเรา
แตงกวา : ค่ะ
แน็ต : แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคนที่โดนกัดควรจะอยู่ตรงนั้นด้วยนะ เพราะเรากำลังจะบังคับให้หมาขอโทษคนนั้น
แตงกวา : อ๋อ แต่ก็ไม่ควรให้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีกแล้วล่ะ
แน็ต : ใช่ๆ ไม่ควร
แตงกวา : คือพอเวลาแม่มาเขาก็ดีใจนะคะ คือเขาก็เล่น เขาเป็นคนเล่นแรง เขาแรงเยอะ แรงเยอะมาก พลังเยอะมาก alert ตลอดเวลาเลย ซึ่งบางทีแม่เจ็บ หรือแม่ร้องโอ๊ยแล้วดันเขาออก เขาก็ไม่พอใจแล้วค่ะ เขาเอาแต่ใจ
แน็ต : ใช่ เป็นหมาเอาแต่ใจ คือเท่าที่ฟังมานะ หนึ่งคือออกกำลังกายไม่เพียงพอ พอออกกำลังกายไม่เพียงพอ มันเหมือนถ้าพี่เอาตัวเองขังไว้ในห้องทั้งวัน ไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีอะไรให้เล่นเลย เบื่อไหม?
แตงกวา : เหมือนอึดอัดอะไรอย่างนี้ใช่ไหม? เก็บกด
แน็ต : ใช่ เหมือนเก็บกด เราก็อยากจะทำอะไรสักอย่าง เราอยากออกไปข้างนอก ไปเดินเล่น นู่นนี่นั่น อยากออกไปเจอคนบ้าง แล้วเราก็เริ่มอึดอัด พออึดอัดแล้วมันก็กลายเป็นความหงุดหงิด หงุดหงิดแล้วเป็นไงล่ะ ก็ลงกับคนข้างๆสิคะ
แตงกวา : ก็จะก้าวร้าว
แน็ต : อารมณ์เดียวกัน หมาก็เหมือนกันแหละ เขาไม่ได้ออกกำลังกาย แรงเขาเยอะเขาเก็บอยู่ข้างใน เขาก็หงุดหงิด เขาก็ไม่รู้จะไปลงกับใคร เจอแม่มา อ้าว แม่กลัวฉันนี่หว่า ก็เล่นเลยสิ นึกออกไหม?
แตงกวา : ค่ะ
แน็ต : แต่แนะนำคุณแม่นะ ถ้าเวลาคุณแม่จะดุหมาตัวนี้ คุณแม่อย่าหนีหมานะ คือยืนตรงนั้น ยืนจนกว่าเขาจะถอย เพราะถ้าแม่ดุหมาปุ๊บ แล้วหมาขู่ หมาเห่า แล้วแม่เป็นคนเดินถอยไปเองน่ะ หมามันจะเป็นคนชนะ ซึ่งต่อไปมันจะเริ่มหนักกว่าเดิม มันจะไม่ขู่ แต่มันจะเริ่มเข้ามากัดแล้วมันจะแย่ลงค่ะ
แตงกวา : แม่ไม่ยอมมันนะบางที แม่บอก
แน็ต : ใช่ๆ แม่ต้องห้ามยอมมันเลย ถ้ามีหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร เอามาม้วนๆตีพื้นดังป้าบก็ได้ คือตีให้เขาตกใจน่ะ
แตงกวา : คือมันพุ่งใส่แม่เลยนะคะอย่างนั้นน่ะ มันพุ่งใส่เลย แต่เดี๋ยวหนูต้องฝึก ต้องทำให้ได้ แต่เวลาเค้าดีใจเขาก็เข้ามาเล่นปกติ แต่คือห้ามขัดเขา เขาจะทำอะไรก็ต้องยอม อย่างนี้ค่ะ ถ้าเป็นคนอื่นนะคะ ถ้าเป็นหนูน่ะ ดุได้ ตีได้ อะไรได้
แน็ต : ถ้างั้นก็นั่นล่ะ คือเขาคิดว่าเขาเป็นจ่าฝูงไง ฉันจะบอกคุณว่าเมื่อไรฉันจะให้คุณเล่นกับฉัน แล้วฉันจะเป็นคนบอกคุณว่าเมื่อไรให้เลิกเล่นกับฉัน ถึงเวลากินข้าวแล้วเอาข้าวมาให้ฉันกินนะ สามโมงแล้วทำไมยังไม่มีข้าวมาให้กินอีก มันหมายความว่ายังไง? เดินมากัดข้อเท้าแล้ว พี่เคยเจอหมาลูกค้าคนหนึ่ง เป็นอย่างนั้นเลย มันรู้นาฬิกาด้วยนะ สี่โมงเย็นคือเวลากินข้าวมัน คือถ้าสี่โมงเย็นยังไม่มีข้าวมาให้มันกิน มันเดินไปงับข้อเท้าแล้วคือกัดเลือดออกเลย
แตงกวา : อืม
แน็ต : เขาจะเป็นแบบนั้น
แตงกวา : อย่างถ้าเวลาหนูดุเขา อย่างง้างมือหรือตี เขาจะหมอบ ค่อยๆหมอบค่อยๆคลานเข้ามาหาอย่างนี้ ถือว่าเรายังคุมเขาอยู่ไหมคะ?
แน็ต : มันก็ใช่นะ แต่มุมมองพี่ พี่ว่าหมามันมารยา
แตงกวา : อ๋อ จริงค่ะ
แน็ต : คือมันหมอบมา แต่ถามว่ามันยอมไหม? มันก็ไม่ยอม เพราะบางตัวแบบหมอบเข้ามาเหมือนมันจะยอม แต่ถ้าเราเอานิ้วไปจิ้มมันปุ้บมันก็ง่ำเลย นั่นคือไม่ยอม
แตงกวา : บางทีถ้าหนูหลุดเผลอตีเขาแรงๆสักสองสามที เขาก็จะมีแบบหันมาแง่งๆบ้าง แต่ไม่ได้กัดนะคะ แค่หันมาแง่มๆ
แน็ต : เพราะเขาไม่ใช่หมาใหญ่ไง การที่เขาหันมาแง่งๆน่ะมันยังไม่น่ากลัวเท่ากับหมาใหญ่ ถ้าหมาใหญ่หันมาแง่งๆนี่เราอาจจะเป็นรูแล้ว เพราะฉะนั้นเนี่ย ถ้ารอบหน้าลองหาอะไรก็ได้ที่ทำให้เรารู้สึกมี power มากกว่าหมา อย่างบางคนก็ใช้หนังสือพิมพ์ม้วนๆ ยกขึ้นมาตี แต่อย่าไปตีจริงนะ คือแค่ยกขึ้นมาขู่มัน ถ้ามันยังเข้ามาอีก ให้ฟาดข้างๆ แต่อย่าไปฟาดหมานะ ไม่งั้นมันจะกลายเป็น abuse หมาไป ฟาดลงพื้นให้เขาตกใจ
แตงกวา : ค่ะ
แน็ต : ถ้าเขาหมอบๆเข้ามาหา แบบขอโทษน้า อะไรประมาณนี้ เราก็อย่าไปยุ่งกับเขา คือหมอบเข้ามาเราเมินเลย เพราะเราถือว่าพฤติกรรมนี้เราไม่รับ เราไม่โอเคกับมัน
แตงกวา : เหมือนกับทำโทษทางอ้อมอะไรอย่างนี้
แน็ต : ใช่ๆ การที่เขาเข้ามาหาเรา มาอ้อนๆเราแล้วเราเล่นด้วยกลับ บางทีมันก็เหมือนหมามันก็มารยาน่ะ ถามว่ามันยอมไหม มันก็ไม่ยอมหรอก แต่เหมือนมันรู้ว่าถ้าใช้วิธีนี้เดี๋ยวอีนี่ก็กลับมาเล่นกับฉันอยู่ดีล่ะวะ
แตงกวา : ค่ะ เรื่อง alert นี่คือถ้าหาอะไรให้เขาเล่นก็จะลดการ alert ได้ใช่ไหม
แน็ต : ถ้าเรื่อง alert เนี่ย หนึ่งก็คือการออกกำลังกาย ถ้าไม่มีที่ให้เขาเดินก็ต้องไปซื้อลู่วิ่งมาให้เขาเดิน คือถ้าหมาเหนื่อยน่ะ มันจะดีมากเลยเพราะเขาจะนอนอย่างเดียว เวลาหมามันอยู่ในฝูงอย่างนี้ หมาแบบหมาจรจัดน่ะ เขาจะไปหากินกันเป็นฝูงใช่ไหม พอเขาเหนื่อยกลับมาทั้งวันเขาก็นอนอย่างเดียว เราต้องการแบบนั้น แต่ลู่วิ่งมันก็แพง พี่เข้าใจ พี่ก็แนะนำให้พาไปเดินนะ แบบ 45 นาทีถึงชั่วโมงหนึ่ง เดินนี่คือให้มันเดินข้างๆเรานะ ไม่ใช่เดินดึงเรานะ มันก็จะดีกับหมา
แตงกวา : ยังเอาอยู่อยู่ค่ะ เวลาเดินจูงได้อยู่
แน็ต : โอเค ถ้างั้นก็ไม่น่ามีปัญหา ถ้าไม่งั้นอีกทีหนึ่งน่ะ เวลาถ้าแม่จะดุหมาอะไรอย่างนี้ เราใส่สายจูงหมาไว้เลยก็ได้ แล้วเราเป็นคนคุมหมา ถ้าแม่ดุหมาปุ๊บแล้วหมาจะเตรียมพุ่งใส่แม่ เราคุมเลย กระตุกสายจูงกลับมาเลย ไม่ใช่นะเว้ย เปรี้ยวไม่ได้นะกับคนนี้
แตงกวา : แค่มันเห็นสายจูงปุ๊บมันจะกลายเป็นหมาใจดีไปเลยค่ะ มันจะยอมทุกอย่างเลย จริงๆ กับทุกคนมันจะแบบน่ารักไปเลย
แน็ต : นั่นแหละ ตัวเองก็ต้องใช้สายจูงในการควบคุมเขาไปในตัวด้วยน่ะค่ะ เพราะเท่าที่ฟังมา เหมือนน้องหมายังฟังตัวเองอยู่ใช่ไหม
แตงกวา : ค่ะ
แน็ต : ถ้าน้องหมายังฟังตัวเอง แสดงว่าตัวเองก็ยังมี power เหนือหมาขึ้นมานิดหนึ่ง ซึ่งมันก็ดี พอเป็นแบบนี้เราสามารถคุมเขาไปหาคนอื่นได้ เราอุ้มเขาแล้วใครเข้ามา เราจิ้มจึกเลย บอกคนนี้ไม่ใช่นะเว้ย ฉันให้คนนี้เข้ามา ไม่ใช่แกให้คนนี้เข้ามา เวลาแม่จะตีแล้วมันจะกระโจนใส่แม่เราก็กระตุกเชือกเลย โป๊ะเลย กระโจนไม่ได้นะ ทำอย่างนี้ผิดนะ
แตงกวา : เดี๋ยวต้องลองพยายามฝึกเรื่องขับถ่ายให้ได้ ถ้าขับถ่ายได้ หนูก็จะปล่อยเขาเลยค่ะ ให้วิ่งเล่นได้ในบ้าน
แน็ต : แต่ถ้าหมาไม่เคยออกกำลังกายแล้วปล่อยออกมา มันจะทำลายข้าวของเลยนะคุณน้อง
แตงกวา : จริงค่ะ โดยเฉพาะกางเกงในค่ะ เผลอไม่ได้เลย แต่มันจะเล่นกับตัวที่ใส่แล้วด้วยนะคะ
แน็ต : หมาโรคจิตนะเนี่ย
แตงกวา : เป็นอะไรไม่รู้ เผลอไม่ได้เลยค่ะ แต่โชคดีว่าเช่าบ้านอยู่แล้ว ซึ่งเป็นตึกแถวมันก็มีหลายชั้น เขาก็สามารถขึ้นไปวิ่งเล่นอะไรได้อยู่แล้ว เหลือแค่เรื่องขับถ่ายอย่างเดียว
แน็ต : นั่นแหละ ช่วงเดือนแรกก็คงต้องอย่างที่ว่าไว้น่ะค่ะ เราต้องคุมเขาตลอดเวลาว่าเมื่อไรฉี่ เมื่อไรไม่ฉี่ ลองสังเกตดูว่าส่วนใหญ่น้องหมาจะฉี่ตรงไหน ถึงเราจะมองว่ามันเรี่ยราด แต่ในความคิดพี่ มันก็ยังมีที่ประจำของมัน มันก็น่าจะไม่ได้เรี่ยราดแบบไปทั่วขนาดนั้น ลองหาดูว่าจุดประจำเขาอยู่ตรงไหน สมมติว่ามันชอบฉี่เสานี้นะ ถ้าเราวางแผ่นรองฉี่ตรงนั้น แล้วให้มันฉี่ตรงนี้เราโอเคไหม? แต่เราต้องเป็นคนเลือกให้เขานะ อย่าให้เขาเลือกเอง
แตงกวา : โอเคค่ะ อย่างตัวเมียเนี่ย เวลาปล่อยออกมาเขาสามารถไปขับถ่ายบริเวณห้องนำเองได้โดยไม่ต้องห่วงเลย แต่อย่างเจ้าตัวผู้เนี่ย เราจะทำอย่างไรดีคะ? ก็ต้องเอาเขาไปไว้ในห้องน้ำตอนที่เขาจะถ่าย ใช้วิธีเดียวกันไหม?
แน็ต : ใช่ๆ ใช้วิธีเดียวกัน หรือถ้าให้ดีเอาไปพร้อมกันเลยก็ได้ ถ้าตัวเมียถ่าย เดี๋ยวตัวผู้ก็ถ่ายตาม
แตงกวา : โอเคค่ะ
แน็ต : เหมือนแบบ เออ อีนี่มันถ่ายตรงนี้ ไหนลองถ่ายมั่งดีกว่า แล้วถ้าเขาถ่ายในห้องน้ำ เราก็ให้รางวัลเขาเป็นขนม ไปเล่นกับเขา โดยที่ยังอยู่ในห้องน้ำนะ ก็ได้ ให้เขารู้ว่าถ้าทำตรงนี้มันดีนะ มันเวิร์คนะ เจ้าของโอเค
แตงกวา : โอเคเลยค่ะ เดี๋ยวต้องลองดู ได้ผลอย่างไรเดี๋ยวหนูรายงานนะคะ
แน็ต : จ้ะ ขอบคุณมากค่า