แน็ต : สวัสดีค่ะ แน็ตจากเพจคนใจหมา วันนี้เราอยู่กับคุณเกดจากหนองคาย มากับปัญหาน้องหมาบางแก้วกัดใช่ไหม
เกด : ใช่ค่ะ
แน็ต : คุณเกดมีเวลา 15 นาที ว่าปัญหามาเลยค่ะ
เกด : เขาจะเป็นแบบ ถ้าเราจูงแบบสั้น คือให้เดินเสมอขาอย่างนี้ แล้วพอเจอสิ่งเร้าน่ะค่ะ เขาจะกัดสิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุดก็คือขาเรา เขาจะเป็นอย่างนี้ที่เสมอเลยค่ะ
แน็ต : แล้วเราคิดว่าการที่เขากัดเนี่ย เป็นเพราะว่าเหมือนเขาไม่ได้ดั่งใจประมาณนั้นหรือเปล่า
เกด : น่าจะใช่ค่ะ เหมือนจะหมั่นเขี้ยวกับสิ่งเร้าที่อยู่ข้างๆน่ะค่ะ แต่ว่าถ้าไม่มีสิ่งเร้า เราก็สามารถจูงเขาเดินระดับเดียวกับเราได้ แต่พอถึงจุดที่เจอสิ่งเร้าอย่างจักรยาน หรือหมาข้างๆที่เห่า เขาจะกระชากเราออกไปทันที แล้วเขาจะวนกลับมา เพื่อเหมือนต้องการระบายน่ะค่ะ
แน็ต : อือฮึๆ
เกด : ค่ะ ประมาณนั้น
แน็ต : ถ้างั้นขอถามนิดหนึ่ง เวลาก่อนออกจากบ้านน่ะค่ะ ใครเป็นคนออกนอกประตูบ้านก่อน
เกด : เกดเองค่ะ เกดจะออกนอกก่อน เขาจะนั่งเพื่อที่จะให้ใส่สายจูง แล้วเขาก็จะไปคอยที่เดิมคือหน้าประตู เขาจะไม่ออกก่อนถ้าเราไม่สั่ง เขาจะนิ่ง
แน็ต : แสดงว่าถ้าคุณเกดเปิดประตูปุ๊บ เขาก็ยังนั่งอยู่
เกด : ใช่ค่ะ เขาจะไม่ออก
แน็ต : คุณเกดเดินออกไปข้างนอก โดยที่ไม่เรียกเขาออกมา เขาก็ไม่ออก
เกด : ใช่ค่ะ ก็ไม่ออก
แน็ต : อืม โอเค ถ้างั้นก็ตัดเรื่องนั้นออกไป เพราะเห็นมีหนึ่งในวิดีโอที่คุณเกดส่งมาให้แน็ต ที่ว่าหมายืนอยู่ตรงหน้าประตูแล้วเขาพยายามกระชากสายจูงเพื่อไปกัดหมา หรือไปหามอเตอร์ไซค์มั้ง ถ้าแน็ตจำไม่ผิด
เกด : ใช่
แน็ต : แต่อันนั้นคือมีตัวกระตุ้นเนาะ
เกด : ใช่ค่ะ มีตัวกระตุ้น ถ้าเราจะเดินแบบ master walk ที่เราเดินกับหมา แบบนั้นน่ะค่ะ เราจะเดินไปถ้าไม่มีสิ่งเร้า แต่ถ้ามีสิ่งเรา เราต้องปล่อยเชือกยาวเลย เพราะเขาจะกัดเรา เขาจะวนมาแงบ ไม่ถึงกับกัดนะคะ แงบเพื่อระบาย
แน็ต : โอเค แปลกเนาะ แต่ถ้าปกติคือเดินตามสายจูงได้ไม่มีปัญหาอะไร
เกด : ใช่ค่ะเดินได้ แต่ถ้าไม่มีสิ่งเร้าอะไรก็เดินได้ แต่ถ้ามีสิ่งเร้าปุ๊บเนี่ย ถ้าเรากระตุกเชือกเพื่อให้เขาอยู่ในระดับที่เราคุมเขาได้ เขาจะกัดทันทีเลย ไม่เข้าใจเหมือนกันค่ะ
แน็ต : เหมือนถูกขัดใจอย่างไรอย่างนั้น
เกด : น่าจะใช่ค่ะ
แน็ต : อย่างนี้เวลาช่วงแรกๆที่เขาเป็นปัญหานี้น่ะค่ะ ถ้าเวลาเขากระชากสายจูงเพื่อตามจักรยานอย่างนี้ เจ้าของทำอย่างไร?
เกด : ช่วงแรกๆที่ยังไม่เข้าใจ เจ้าของจะตกใจ เหมือนมีอาการตื่นเต้น แล้วก็จะเหมือนไปตามแรงของเขา
แน็ต : แต่ก็คือปล่อยเขาไป เรียกว่าลากไปกัดได้เลย ประมาณนั้น
เกด : ใช่ค่ะ
แน็ต : อ๋อ โอเค คือเป็นไปได้ไหม คือ ณ ตอนนี้เจ้าของเกิดความกลัว ไม่แน่ใจ อารมณ์ไม่แน่นอนแล้ว เวลาเห็นสิ่งเร้ามาแล้วเรามีความรู้สึกว่า หมาเรามันกระโจนไปแล้วจะกลับมากัดเรา อะไรมาณนี้ มีความรู้สึกนี้ไหม?
เกด : ใช่ๆ เรามีความรู้สึกแบบนั้นค่ะ
แน็ต : คือ ณ ตอนนี้เนาะ มันอาจจะเป็นไปได้เหมือนกัน สมมติเดินกันอยู่อย่างนี้ แล้วเหมือนตัวเร้ามันมาใช่ไหม แล้วเราที่เป็นคนพาเขาเดินเนี่ย ลึกๆเราเริ่มรู้สึกกังวลใจ แบบว่าหมาเรากำลังจะไปแล้วจะย้อนมากัดเรา มันเป็นไปได้เหมือนกันที่พอหมาไปแล้วย้อนกลับมา แล้วคือทางคุณเกดน่ะ ไม่นิ่งน่ะ คือข้างในเรากระวนกระวายอยู่ ก็เป็นไปได้เหมือนกันที่ว่าหมาเขาหันกลับมากัดเรา เพื่อที่จะบอกให้เรากลับมานิ่งเหมือนเดิม
เกด : คือพอมันโดนกัดบ่อย เราก็เลยกลัว คือเราอยากจะควบคุมเขานะ แต่เมื่อจับสั้นปุ๊บ เขาจะเหมือนอยากระบาย พอเขาได้แงบครั้งหนึ่งเขาจะหยุดเลยนะ เหมือนเขารู้สึกตัวว่าเขาแงบเรานะ เขาไม่ถึงกับว่ากัดเอาเป็นเอาตายนะ เขาแงบเพื่อที่จะให้เขารู้สึกดีขึ้นมั้ง แล้วเขาก็มองหน้าเรานะ แต่เขาจะแงบถ้าเขามีโอกาสน่ะค่ะ
แน็ต : เพราะไอ้แงบนี่แหละ เหมือนกลับมาแล้วมาแงบเราหนึ่งทีเลยทำให้แน็ตมีความรู้สึกว่า เหมือนเวลาหมามันเดินด้วยกันในฝูงใช่ไหม ถ้าตัวหนึ่งจิตเริ่มตก หรือเริ่มตื่นเต้นเริ่มกลัวอย่างนี้ หมาอีกตัวหนึ่งมันจะหันกลับมาฉกใส่ เพื่อบอกไอ้ตัวที่กลัวว่า ใจเย็น กลับมาให้ปกติ เพราะหมาที่ขี้กลัว หมาตกใจ หรือหมาที่มีอารมณ์พวกนี้คือมันไม่ balance แล้ว และมันก็คือจุดอ่อนของฝูง เพราะฉะนั้นจ่าฝูงหรือหมาตัวอื่น ที่เวลาเราเห็นมันรุมกันน่ะ ส่วนหนึ่งมันคืออารมณ์ประมาณนั้น เพราะว่าตัวนั้นมันอ่อนแอเกินไป มันส่งพลังงานความอ่อนแอออกมา ตัวอื่นเลยต้องมาฉกเพื่อบอกว่า เฮ้ย ออกมาจากภวังค์ตรงนั้นนะ อะไรประมาณนี้
เกด : อืม
แน็ต : แน็ตเข้าใจว่าเป็นแบบนั้นน่ะ จากที่เห็นอาการที่เขากลับมางับน่ะ แต่นี่คือเริ่มมีใส่ตะกร้อครอบปากเดินแล้วใช่ไหมคะ?
เกด : ใช่ค่ะ
แน็ต : แล้วการที่ใส่ตะกร้อครอบปากเดินแบบนี้ เจ้าของรู้สึกมั่นใจขึ้นไหม?
เกด : เจ้าของไม่มีความกังวลอะไรเลย
แน็ต : แต่เขายังหันกลับมาแงบเราอยู่ไหม?
เกด : ไม่ค่ะ เขาแค่หันไปดูสิ่งรอบข้าง เหมือนพอเรามีความมั่นใจ เขาก็มีความมั่นใจด้วย
แน็ต : ใช่ ถูกต้อง ถ้างั้นก็น่าจะ confirm ได้ว่าไม่ได้เป็นเพราะเขาหันมาแงบเราเพื่อระบายกับเรา แต่เขาแงบเราเพื่อที่จะบอกให้เรากลับมาสงบเหมือนเดิม เพราะพอตัวเองใส่ตะกร้อให้หมาปุ๊บ เจ้าของรู้สึกปลอดภัย รู้สึกมั่นใจ นั่นคือคุณสงบแล้ว หมามันก็จะรู้สึกแบบ เออ โอเค เจ๊นำเลย เดี๋ยวหมาตามเอง
เกด : ใช่
แน็ต : แต่ถ้าเมื่อก่อนที่เดินกับหมาโดยไม่ใส่ตะกร้อ แน็ตเข้าใจว่าช่วงแรกๆทางคุณเกดก็คงจะเหมือนแบบไม่รู้จะจัดการอย่างไรกับสถานการณ์ที่มีหมาตัวอื่นเข้ามา ใช่ไหม คือมันเป็นเรื่องปกติที่ส่วนใหญ่ เจ้าของเนี่ย พอมีหมาจรผ่านมาระวห่างที่เราเดิน เจ้าของจะเริ่มรู้สึกกลัว ไม่มั่นใจ แล้วหมามัน sense ตรงนี้ได้ มันก็ต้อง step up ขึ้นมาเหนือเราเพื่อมาเป็นคนที่ปกป้องฝูงแทน เพราะตอนนั้นคุณเกดไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งที่ปกป้องเข้าได้ ต่อมามันก็เลยอาจจะพัฒนา ตอนแรกคงเป็นนิสัย ว่าโอเคเจ้านายไม่ไหวแล้ว เดี๋ยวหมาจัดการเอง จนตอนนี้กลายเป็น ขอโทษนะคะ มันกลายเป็นสันดานหมาไปแล้ว คือมันลึกกว่านิสัยไปแล้ว
เกด : ใช่
แน็ต : นั่นก็คือทุกครั้งที่มันมีอะไรเคลื่อนไหวปุ๊บ เขาจะต้องปกป้องเราไว้ก่อน
เกด : ประมาณนั้นน่ะค่ะ แต่หลังจากที่ใส่ตะกร้อแล้ว ก็สามารถที่จะคุยกับคนในหมู่บ้านที่เดินด้วยกันได้ ให้คนเข้าใกล้ได้ แต่เขาก็ยังขู่นะ เพราะเขาหวงตัว หวงเรา เขาขู่ แต่พอเรากระตุกเขาเขาก็หยุด แต่ว่าเมื่อก่อนที่ไม่ได้ใส่ตะกร้อ เขาไม่หยุดนะ เขากระชากไปหาเลย
แน็ต : นี่แหละคือตัวอย่างที่ดีมากเลยที่ว่า เมื่อเจ้าของเปลี่ยน หมามันเปลี่ยนตาม
เกด : เพิ่งฝึกมาได้ 4-5 วันแล้ว
แน็ต : ดีๆ เพราะตอนแรกที่แน็ตแนะนำคุณเกดให้ใส่ตะกร้อหมาใช่ไหม ให้มารวมกับการเดิน เพราะเวลาเดินคนก็กลัวโดนหมากัด ก็เลยกลัวกันไปใหญ่ พอเอาตะกร้อมาใส่มันก็เลยสบายขึ้น มันโอเคนะ แน็ตว่ามันได้ผลเลยนะ คราวนี้สิ่งที่คุณเกดควรจะทำคืออะไร คือต้องเป็นจ่าฝูง 100% เลยนะ นั่นคือเวลาเดินๆอยู่ถ้าหมาเริ่มออกอาการหูตั้ง หางตั้ง ยังไม่ต้องขู่นะ ยังไม่ต้องอะไรเลย ถ้าแค่หูตั้งหางตั้ง เราก็ต้องหยุดเขา ณ จุดนั้นแล้ว เพราะนั่นคือหมาเรากำลังจะเข้าโหมด alert แล้ว
เกด : อืม
แน็ต : แล้วถ้าหมามันเข้าโหมด alert แล้วเนี่ย เปอร์เซ็นที่มันจะข้ามไปสู่โหมดดุที่ว่าเริ่มปกป้องเราแบบเต็มที่น่ะ อันนี้มันค่อนข้างจะสูง ซึ่งเมื่อถึง ณ จุดนั้นจะให้ห้ามมันยาก แต่ถ้าห้ามได้ตั้งแต่เนิ่นๆเลย แบบเดินๆนิดๆ หูเริ่มตั้ง เราก็ทำเสียงหรือกระตุกสายจูงอะไรประมาณนี้ เพื่อให้เขากลับมาสงบเหมือนเดิม แต่ทั้งหมดทั้งมวลเนี่ย คุณเกดต้องทำให้เขารู้สึกได้ว่า การเดินครั้งนี้คุณเกดจะเป็นคนปกป้องเขาเอง
เกด : ตอนนี้ก็รู้สึกดีขึ้นมากแล้วค่ะ จากที่ได้รับคำแนะนำ ก็คือเราสามารถที่จะหยุดเดิน คุยกับคนอื่นที่เขากลัว บางแก้วอ่ะเนาะ เพราะบางแก้วคนเขาจะกลัว คนเขาบอก มีตะกร้อ คุยได้ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องกลัวหมามีตะกร้ออะไรอย่างนี้ พอสิ่งเร้าที่เมื่อก่อนเขากลัว กลับเป็นเขาเฉย หมาเราก็นิ่งขึ้นนะ
แน็ต : ดีๆๆ แต่บางทีคือต้องระวังพวกมนุษย์ที่เรียกว่าอะไรล่ะ ไม่กลัวหมา ไม่ดูกาละเทศะในการจับหมา คือมันมีคนแบบนี้เยอะมาก ต้องระวังไว้ แบบเดินมาถึงปุ๊บจะมาจับหมาเราเลย อะไรประมาณนี้ ซึ่งแน็ตมองว่าหมาตัวเองน่ะ เขายังไม่พร้อมเขาถึงจุดนั้น เพราะฉะนั้นมันต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าของแล้วที่มันต้องประเมินบุคคล ว่าเขาอยู่ดีๆจะเข้ามาแตะหมาเราไหม
เกด : อือฮึ
แน็ต : เพราะว่าถ้าเข้ามาแบบนั้นเมื่อไร บอกเขาเลยว่าหมากัดนะคะ ไม่ให้เข้ามา เพราะเราต้องปกป้องหมาเราถูกไหม คือ ณ ตอนนี้น้องหมากำลังออกมาเจอสังคมแล้ว เริ่มเรียนรู้ที่จะสงบ เรียนรู้ที่จะนิ่ง แค่นั่งเฉยๆในการที่มีคนแปลกหน้าเข้ามา เขาอาจจะไม่พร้อมให้คนแปลกหน้าเข้ามาแตะตัวเขาอะไรประมาณนี้ คือ ณ ตอนนี้คุณเกดต้องไปดูภาษากายหมาก่อน
เกด : ค่ะ
แน็ต : แต่ถ้าดูแล้วแบบหมาไม่สบตา หรือว่าถ้าคนแปลกหน้ามาแล้วหมาเดินถอยหลังหนึ่งก้าว อย่างนี้แปลว่าหมาไม่พร้อมที่จะเจอคนใหม่
เกด : แต่หมูแฮมเขาไม่เดินถอยหลัง เขาขู่
แน็ต : งั้นต้องลองให้คนแปลกหน้าแตะดู
เกด : เขาไม่ให้เข้าใกล้เขา
แน็ต : ก็ยังไม่ให้เข้าใกล้ อืม ที่บ้านมีลู่วิ่งไฟฟ้าไหมคะ?
เกด : ไม่มีค่ะ แต่จะพาออกกำลังกายเช้าเย็น วันละ 1 ชั่วโมง
แน็ต : เพราะถ้าบางทีมีลู่วิ่งไฟฟ้า เราจะให้หมาวิ่งบนลู่วิ่ง แล้วก็ให้คนแปลกหน้ามานั่งข้างๆ หรือเริ่มจับตัวหมา เพราะตอนนั้นหมามันจะโฟกัสอยู่กับการวิ่งแล้ว
เกด : อ๋อ
แน็ต : แล้วมันก็จะเริ่มเป็นการนำเสนอคนแปลกหน้า ให้เข้ามาอยู่ในโซนส่วนตัวของเขา ซึ่งมันก็เป็นจุดเริ่มเล็กๆ แต่ถ้าเกิดไม่มีก็ไม่เป็นไร ถ้าสามารถมีเพื่อนหรือใครที่หมูแฮมไม่เคยเจอ ให้เขามาเจอหมูแฮมเดิน มันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเหมือนกัน นั่นแหละ มีปัญหาอื่นอีกไหม?
เกด : ก็มีปัญหาที่เขาหวงกระดูกอ่ะเนาะ แต่ว่าเคยไปดูคลิปที่คุณแน็ตเคยลง มันจะคนละลักษณะกัน หมูแฮมเขาจะไม่ปล่อยของนะ เขาจะอมไว้ทั้งปากเลยค่ะ ซึ่งเราจะเขี่ยออกไม่ได้นะ เขาจะอมทั้งปากเลย
แน็ต : ถ้าเป็นกระดูกเขาจะอมเข้าไปเลยอ่ะนะ?
เกด : ใช่ อมเข้าไปทั้งปาก แต่ไม่ได้กลืนนะ เขางับไว้แล้วเขาขู่ไปด้วย พร้อมที่จะสู้และอมไปพร้อมๆกัน ซึ่งเราไม่มีโอกาสที่จะเอาอุปกรณ์ไปเขี่ยออกมาได้เลย
แน็ต : ถ้ามันถึงขั้นอมไปเลยเนี่ย สิ่งต่อไปที่เราทำได้คือใช้มือเราเข้าไปจับกระดูก แต่มันก็ค่อนข้างจะต้องกล้านิดหนึ่งเนาะ มันมีอีกวิธีหนึ่ง สมมติเขาอมกระดูกใช่ไหม แล้วเราเอาออกไม่ได้ เราหาของกินอย่างอื่นมา เพื่อทำการแลกเปลี่ยนกับเขา
เกด : ใช่ หาแล้วค่ะ เราเอาสิ่งที่เขาชอบมา
แน็ต : แล้วมันปล่อยไหม?
เกด : เขาจะงับพร้อมกันกับที่อมกระดูก
แน็ต : เฮ้ย มันเป็นหมาที่มีความสามารถสูงมากเลยนะ
เกด : ใช่ค่ะ อย่างตับเนี่ย เขาชอบกินตับ เขาชอบกลิ่นมันมากเลย เราจะวางไว้ชิ้นใหญ่เพื่อที่จะแลกกับกระดูก เขาจะอมกระดูกแล้วก็เอาตับไปได้พร้อมกันเลย
แน็ต : นี่กระดูกชิ้นใหญ่ขนาดไหนเนี่ย?
เกด : กระดูกข้อของหมูน่ะค่ะ ที่เอาไว้ให้หมาแทะ
แน็ต : แล้วหมาปากมันใหญ่ขนาดนั้นเลยหรอ?
เกด : เดี๋ยววันหลังจะลองถ่ายคลิปให้ดู เดี๋ยววันหลังจะลอง test เหตุการณ์ให้ดู เขาสามารถมากเลย คือเราไม่สามารถเอากระดูกจากเขาได้เลย
แน็ต : ถ้าไม่งั้นลองหากระดูก อะไรน้า กระดูกหมูซุปเลยแบบที่ชิ้นใหญ่ๆน่ะ
เกด : ใช่ค่ะ ชิ้นใหญ่ๆนั่นแหละ
แน็ต : คือเขากัดได้ แต่ยังไงมันก็ยังมีเนื้อที่ที่เหลือออกมาให้เราจัดการกับมันได้น่ะ
เกด : คือเขาจะไม่ยอมเอากระดูกออกจากตัวเขาเลยน่ะ คือเขาสามารถงับพร้อมกับกินอย่างอื่นด้วยได้
แน็ต : อืม อันนี้ต้องถ่ายวิดีโอมาให้ดูแล้วแหละ เรามีความรู้สึกว่าหมาตัวนี้มันมีความสามารถอย่างแรง
เกด : เขาสามารถจริงๆนะ
แน็ต : โอเคๆ ไม่เป็นไร จุดนั้นเดี๋ยวเราค่อยแก้กันรอบหน้า แต่เอาเป็นว่าเรื่องเดินนี่ก็คือเป็นตะกร้อเนาะ อันนี้เดี๋ยวเจ้าของหมาคนอื่นที่เขาเจอปัญหาที่คล้ายๆกันอย่างนี้ เขาจะได้เรียนรู้ว่าต้องลองเอาตะกร้อใส่ปากหมา แต่รบกวนคุณเกดแนะนำเจ้าของหมาคนอื่นๆหน่อยค่ะ ว่าเวลาใส่ตะกร้อหมา ทำอย่างไรไม่ให้หมาเครียด
เกด : อ๋อ เวลาใส่ตะกร้อหมาเนาะ ดูจากคลิปของคนใจหมานะคะ ก็คือได้ตะกร้อมาแล้ว แรกๆต้องให้เขาดมก่อนว่านี่คือสิ่งใหม่ และเขาจะได้ขนมเมื่อเขาใส่เข้าไป คือเกดฝึกให้เขาใส่ตะกร้อเนี่ยประมาณ 3-4 วัน จะต้องมีขนม แล้วเขาจะต้องเอาหัวมุดเข้าไปในตะกร้อเอง ช่วงแรกเขาก็จะมีการเขี่ย ต่อต้านสิ่งนี้ เพราะสิ่งนี้คือสิ่งที่เขาไม่ชอบอยู่แล้ว ทีนี้เราก็จะใส่ขนมลงไปที่ด้านในตะกร้อน่ะค่ะ แล้วเขาก็จะเอาหัวมุดเข้าไปเอง แล้วพอเขากินเสร็จเขาก็เอาออก ทำอยู่อย่างนี้ค่ะ ฝึกอยู่ประมาณสามสี่วัน แล้วพอวันที่ 4 ก็เริ่มใส่ให้นิดหน่อย เขาก็ยังเขี่ยอยู่ แต่ในระหว่างที่เขาเขี่ย เราจะใช้ไก่ หรือว่าสิ่งที่เขาชอบ ที่มันเป็นขนมที่เขาชอบน่ะค่ะ ให้เขาดม แล้วก็เล่นกับเขาในพื้นที่บ้านก่อนที่จะพาออกไปเดิน เพื่อให้เขารู้สึกว่า เออ เนี่ย ฉันใส่ตะกร้อแล้วฉันได้กิน ฉันใส่ตะกร้อแล้วฉันจะได้ไปเที่ยว ทำแบบนี้แหละค่ะ ตอนนี้เขาก็สามารถใส่ตะกร้อได้โดยที่เขาไม่เขี่ย เวลาพาเดินออกไปข้างนอก แต่เมื่อเจอสิ่งเร้าเขาก็จะมีอาการอยากเอาออกบ้าง แต่ตะกร้อมันแน่นค่ะ เอาออกไม่ได้ เราก็ใช้ตัวขนมเนี่ยล่อเขา ดึงออกจากเหตุการณ์แล้วก็ล่อเขาไปเรื่อยๆ
แน็ต : โอเคเลย ดีเลย เจ้าของท่านอื่นฟังไว้นะคะ มันใช้เวลา 3-4 วัน คืออย่าคิดว่าวันเดียวแล้วจะได้ มันไม่มีทางหรอก
เกด : ใช้เวลาค่ะ แล้วพอได้ของใหม่มาเนี่ยต้องให้เขาดมก่อน เพราะถ้าไปใส่ปุ๊บเนี่ย จะไม่มีทางที่จะได้ใส่อีกแล้ว
แน็ต : ใช่มันเอาออกแน่นอน แต่คือ key หลักของวิธีที่คุณเกดใช้คือให้หมาเอาหัวเข้ามาในตะกร้อเองเนาะ
เกด : ใช่ค่ะ หมาจะต้องเอาเข้าและต้องเอาออกเอง
แน็ต : ใช่ค่ะ ข้อนี้สำคัญมากนะคะ ใครจะซื้อตะกร้อมาใส่คอหมา จำไว้เลยว่าอย่าเอาตะกร้อไปรัดปากหมา แต่ให้หมาเอาหัวเข้ามาในตะกร้อแทน ข้อนี้สำคัญมาก และมันใช้เวลา 3-4 วัน ถ้ามันต้องใช้มันก็ต้องใช้ เพื่อฝึกหมาเอาไว้ เก่งมากค่ะคุณเกด นับถือเลยจริงๆ
เกด : ค่า
แน็ต : โอเค ครบแล้ว 15 นาที ขอบคุณมากนะคะ แล้วอย่าลืมส่งวิดีโอให้แน็ตดูนะว่าหมูแฮมมันใช้ความสามารถขั้นสูงขนาดไหน ในการอมกระดูกและกินตับได้ในคราวเดียวกันเนี่ย
เกด : ได้ๆค่ะ เดี๋ยวอัดคลิปให้ดู
แน็ต : โอเคเลย ขอบคุณมากค่ะ สวัสดีค่ะ