แน็ต : สวัสดีค่ะ แน็ตจากเพจคนใจหมา วันนี้เราอยู่ช่วงคุยกับคนใจหมา เรามากับปัญหาน้องหมาชอบเห่า เห่าใส่หมาตัวอื่นทั้งๆที่ตัวเองก็กลัว ประมาณนั้นใช่ไหมคุณตาว?
ตาว : ใช่ค่ะ
แน็ต : มีเวลาให้ 15 นาที พอจะเล่าเหตุการณ์มาซิว่าเป็นอย่างไรบ้าง?
ตาว : ค่ะ ก็คือน้องหมานะคะ พันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ด ตอนนี้อายุประมาณขวบกว่าๆนะคะ อาการก็คือมันชอบเห่าใส่หมาตัวอื่นบ่อยมาก ก็คือเวลามีหมามาเดินผ่าน เวลาพาไปโรงพยาบาล หรือว่าเวลาพาไปเดินห้างที่พาหมาไปได้ มันก็ชอบจะกระโจนเข้าไปหาตลอดเวลาเลย แต่พอเอาจริงๆ เวลาหมาเข้ามาใกล้ๆ มันก็จะแบบกลัว จะเริ่มถอย จะเริ่มแบบมาอยู่ใกล้เราแล้วก็ไม่เห่าเลย แต่ว่า มันกลัวหมาตัวอื่นที่แบบมาอยู่ใกล้มันจะกลัว เหมือนถ้าหมาตัวใหญ่ใช่ไหม หมาหนูมันก็เหมือนพยายามกระโจนจะงับข้างหลังเขาตลอดเลย แต่พอเอาจริงๆมันก็ไม่กล้าหรอก อะไรอย่างนี้ แล้วพอสมมติอยู่ที่บ้าน บางทีเราปล่อยไม่ได้เลยนะตอนกลางคืนอย่างนี้ มันมีหมาข้างนอกเดินผ่านหน้าบ้าน มันก็จะเห่าไม่หยุดหย่อน แต่จริงๆที่บ้านเราก็เลี้ยงหมาอีกตัวไว้คู่กัน อีกตัวคือลาบราดอร์ อายุประมาณ 10 ปีละ แต่ก็คืออยู่ด้วยกันได้ไม่มีปัญหา แต่พอแบบเจอหมาตัวอื่นทีไรก็จะมีปัญหาตลอดทุกเวลาเลยค่ะ จะกระชาก แบบจะไปเก่าเขา จะไปงับเขา แต่พอเอาเข้าจริงก็แบบไม่เอา แล้วมันก็แบบทำให้เราเหนื่อยมากในการจัดการปัญหานี้ค่ะ
แน็ต : โอเค มันค่อนข้างจะเป็นปัญหาสามัญ คือเป็นปัญหาที่หลายคนเจอบ่อยๆ คือ ณ ตอนนี้หมาเรายังไม่กัดคนอื่นก็จริง แต่อย่าเพิ่งวางใจนะ เปอร์เซ็นที่จะกัดน่ะมันมี เราต้องเข้าใจก่อนว่า ทำไมเขาถึงเห่า ทำไมเขาถึงพยายามจะไปกัดข้างหลัง ทั้งหมดทั้งมวลมันก็อย่างที่คุณตาวว่าแหละ คือเขากลัว เขากลัวว่าหมาตัวอื่นจะมาทำร้ายเขา เพราะฉะนั้นสิ่งที่เขาทำได้ตอนนี้คือเขาต้องปกป้องตัวเองก่อน คือการไปทำร้ายคนอื่น
ตาว : ค่ะ
แน็ต : เหมือนมนุษย์น่ะ ถ้าเราไปดูเด็กอนุบาล พวกเด็กเกเรทั้งหลาย จริงๆแล้วคือเด็กที่ขี้กลัว เขากลัวคนอื่นมาทำร้ายเขา เพราะฉะนั้นเขาต้อง bully ก่อน เขาต้องตัวใหญ่ก่อน ต้องแบบทำเปรี้ยวไว้ก่อนเพื่อกันคนอื่นเข้ามาหาเรื่อง อะไรอย่างนี้
ตาว : ค่ะ
แน็ต : ของเคสนี้ก็คล้ายๆกัน คือมันเป็นหน้าที่คุณตาวที่ต้องสอนหมาให้รู้ว่า เขาต้องเรียนรู้ที่จะปล่อยวางกับหมาตัวอื่น หมาทุกตัวที่เข้ามาไม่ได้จะมาทำร้ายคุณ ตราบใดที่ถ้าคุณอยู่สงบ หมาคนอื่นเขาจะสงบ เพราะการที่หมาเราไปเห่าๆอย่างนี้ มันจะไปกระตุ้นให้หมาตัวอื่นเข้ามาซัด นึกออกไหม?
ตาว : อืม
แน็ต : หรือบางตัวแค่เข้ามาดมๆเฉยๆ แต่หมาตัวเองอ่ะ แทนที่จะเข้าไปดมๆด้วยกันอย่างสงบ มันกลับพยายามจะวิ่งหนีหรือจะงับถ้าเวลาหมาตัวอื่นเข้ามาใกล้ ฉะนั้นเปอร์เซ็นที่มันจะสู้กันเนี่ยจะสูงมากเนาะ
ตาว : ค่ะ
แน็ต : เพราะฉะนั้นสิ่งที่แน็ตจะแนะนำได้ก็คือ เวลาพาไปเดินหรือเวลาอยู่ในบ้าน หรือพาไปโรงพยาบาล ต้องใส่สายจูง ใช้สายจูงแบบไหนอยู่คะ?
ตาว : ใช้สายจูงเป็นเชือกปกติอ่ะคะ รัดคอปกติ
แน็ต : ไม่ใช่สายรัดอกนะ?
ตาว : สายรัดอก?
แน็ต : ใช่อันที่ต่อกับโซ่กระตุกเปล่า? หรือว่าเป็นเชือกเส้นเดียวไปเลย
ตาว : ใช่ ต่อกับโซ่กระตุก ก็คือเป็นโซ่คล้องคอแล้วก็มีเชือกอันหนึ่งแล้วกระตุกอยู่แล้วอ่ะค่ะ
แน็ต : ถ้าให้ดีก็เปลี่ยนเป็นเชือกเส้นเดียวไปเลย เหมือนที่พี่มีขายอยู่หน้าเพจ หรือว่าเนื่องจากหมาเขาตัวใหญ่ ใช้เป็นสายคล้องปากก็ดีเหมือนกัน เวลาเรากระตุกเขา เขาจะรู้เรื่อง
ตาว : อาฮะ
แน็ต : นั่นแหละ ลองดู เพราะการที่เรากระตุกเขาเพื่ออะไร เรากระตุกเพื่อดึงสติเขากลับมา แล้วเราต้องการให้เขาสงบ ให้เขาเรียนรู้ทุกอย่าง คือหมามันเรียนรู้ทุกอย่างผ่านประสบการณ์ ถ้าเกิดเขาเห่าๆแล้วหมาตัวอื่นวิ่งหนีเนี่ย เขาก็เรียนรู้ว่า ถ้าฉันเห่า ฉันได้พื้นที่จากหมาตัวอื่น คือตอนนี้ที่เรากลัว คือกลัวเจอหมาหน้ามึน มันจะมีหมาหน้ามึนบางประเภทที่แบบว่า เห่าอะไรไม่เห็นรู้เรื่องเลย ไม่เข้าใจ ก็ยังหน้ามึนเดินเข้ามา แล้วทีนี้หมาตัวเองเนี่ย ถ้าเขาหลบไปถึงจุดหนึ่งแล้ว ถ้าไอ้ตัวนั้นมันยังจะเข้ามาต่อ ทีนี้ option สุดท้ายที่เขามีคือเขาต้องกัดละ แล้วถ้ามันกัดปุ้บ ไอ้ตัวนี้วิ่งหนี สิ่งต่อไปที่จะเป็นพฤติกรรมของหมาตัวเองก็คือ ถ้าเห่าแล้วจะกัด คือเขาเรียนรู้
ตาว : อืม ก็คือเหมือนว่า สมมติว่าเราพาไปเจอหมาตัวอื่นอะไรอย่างนี้ เรากระตุกเขาให้เขารู้สึกว่า ไม่เป็นไรนะ อย่างนี้หรอคะ
แน็ต : กระตุกเพื่อให้ดึงสติมันกลับมา กระตุกเพื่อบอกว่าหยุดเห่า กลับมาก่อน กลับมา กลับมาทางนี้ก่อน กลับมาสนใจฉัน เพราะฉะนั้นเวลาอยู่บ้านลองฝึกให้หมาสบตาเราก็ดี สมมติก่อนจะเปิดประตูบ้าน ให้เขานั่งมองสบตาเราก่อน แล้วค่อยปล่อยออก ก่อนจะกินข้าวให้นั่ง ให้สบตาเราก่อนแล้วค่อยให้กินข้าว คือเราพยายามจะสอนให้หมารู้ว่าการสบตาเจ้าของน่ะดีนะ นึกออกไหม เพราะเราต้องการให้หมาโฟกัสกับเจ้าของ
ตาว : ค่ะ
แน็ต : ทีนี้เนี่ย เวลาเราออกไปข้างนอกเนี่ย เวลาเรารู้สึกว่าไม่สบายใจกับเหตุการณ์อะไรบ้างอย่าง หรือแบบหมาตัวนู้นกำลังมาอะไรอย่างนี้ แทนที่หมาเราจะไปสนใจทางนู้น เราอยากให้หมากลับมาสนใจเรา ทีนี้การกระตุกสายจูงเนี่ย ต้องกระตุกแรงขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับหมาว่าสติแตกขนาดไหน นึกออกไหม
ตาว : freak ไหม
แน็ต : ถ้าแบบ freak out เรียบร้อยแล้ว เห่าไม่หยุด กระตุกไม่รู้เรื่อง นู่นนี่นั่น คือแบบสติแตกไปแล้วอะไรอย่างนี้ ซึ่งฟังแล้วน่าจะใช่ น่าจะสติแตกไวมาก ถ้าเป็นขั้นนั้นเนี่ย น้องตาวเดินถอยหลังมาหนึ่งก้าว แล้วก็ยืนขาเราให้มั่นๆเลยนะ แล้วกระชากสายจูงกลับมา
ตาว : อาฮะ
แน็ต : อาฮะ เพื่ออะไร เพื่อที่ให้หมาเซ พอหมาเซปุ้บ มันจะ โอ๊ะๆ เกิดอะไรขึ้น จำไม่ได้ แล้วเขาจะหันกลับมาโฟกัสเราอย่างน้อย 2 วินาที
ตาว : อาฮะ
แน็ต : แล้วจากตรงนั้นเนี่ย เราก็ค่อยเอาใหม่ ถ้ามันเริ่มหันไปเห่า ทีนี้กระตุกเขาก็จะรู้เรื่องละ งงไหม?
ตาว : ไม่งง แสดงว่า เนี่ย ช่วงนี้มันต้องไปโรงพยาบาลบ่อยค่ะ สมตติเจอหมาอื่นคือต้องกระตุกจนให้มันห้ามเห่าเลยใช่หรือเปล่า เพราะว่าถ้าหนูปล่อยไว้มันก็จะเป็นอย่างนี้เรื่อยๆหรือเปล่า?
แน็ต : ใช่ๆ มันก็จะเห่าๆๆไป คือครูฝึกบางคนเขาก็จะบอกว่าก็ปล่อยให้มันเห่าไป เดี๋ยวพอมันเหนื่อยมันก็จะหยุดเอง ถามว่าก็ใช่ไหม? ก็ใช่ แต่คือตอนนี้เหมือนหมาเรามันเห่าเป็น set defualt ไปแล้วล่ะ ว่าเจอหมาต้องเห่า ต้องตั้งท่านี้ นู่นนี่นั่น
ตาว : ใช่
แน็ต : เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าเดี๋ยวมันหยุดเห่าไหม มันก็หยุด แต่ครึ่งชั่วโมงบางทีก็เห่าไหวนะ อะไรอย่างนี้ แล้วมันก็อยู่โรงพยาบาล ชาวบ้านเขาก็จะรำคาญใช่ไหม แต่อย่างนี้อย่างเพิ่งเอาไปฝึกที่โรงพยาบาล แนะนำให้ฝึกที่บ้านก่อน
ตาว : ค่ะ อือฮึ
แน็ต : คือเราอยู่ในบ้าน มีรั้วอยู่อย่างนี้ เราใส่สายจูง สอนให้หมานั่งกับ นั่งกับหมอบ คอย นั่งหมอบคอย เป็น 3 คำสั่งที่ควรจะสอนหมานะ เสร็จแล้วถ้าเวลามีหมาตัวอื่นเดินผ่านหน้าบ้านใช่ไหม หมาเราตามปกติคือจะพุ่งใช่ไหม?
ตาว : มันจะพุ่งไปเลย ใช่
แน็ต : นั่นแหละ เพราะฉะนั้นตอนนี้เราเอามาฝึกได้เลย คือเรากระตุกสายจูงเลย เพื่อให้อย่าแม้แต่พุ่ง
ตาว : อ๋อ ค่ะ
แน็ต : หน้าที่คุณมีอยู่ option เดียวคือ จงนั่งหรือหมอบ และเงียบซะ ถ้าเราทำในบ้านแล้วเนี่ยโอเค หมาตัวอื่นผ่านไปผ่านมา หมาเราไม่เห่าแล้ว เราค่อยออกไปข้างนอกบ้าน ออกไปข้างนอกบ้านแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เรายังคุมได้นะ โรงพยาบาลไว้เก็บเป็นหน้าที่สุดท้าย เพราะโรงพยาบาลเราคุมอะไรไม่ได้เลย เราคุมได้แต่หมาเราอย่างเดียว ซึ่งหมาเราถ้าออกอย่างนั้นเนี่ย มันก็เป็นครั้งที่สามครั้งที่สี่ในการเรียนรู้แล้วแหละ คือมันต้องสอนเขาไปสักพักหนึ่ง
ตาว : สมมติเราพาไปเดินตรงข้างนอกอ่ะค่ะ แล้วมันมีหมาบ้านอื่น หมาข้างบ้านอย่างนี้ มันก็อยู่ในบ้านมัน หมาหนูมันก็จะชอบแบบว่า เข้าไปหาตรงประตูหน้าบ้านเขาแล้วก็เห่ากันแบบแรงมาก อย่างนี้คือหนูก็ควรที่จะกระตุกใช่ไหมคะ?
แน็ต : ใช่ๆ ไม่ควรให้ออกไปเลย คือเขาเดินกับเราเขาก็ควรจะโฟกัสกับเรา เพราะฉะนั้นพี่ถึงสอนเวลาเดินกับหมาเราเนี่ยอยากให้หมาเดินข้างๆตัว อย่าให้หมาดึง นึกออกไหม?
ตาว : ค่ะ
แน็ต : ถ้าเรายังคุมหมาเราไม่ได้ตั้งแต่ในบ้าน คืออะไร เรียกมานั่ง สงบ ใส่สายจูง เดินออกจากประตูบ้าน หมาคอย ไม่เรียกห้ามออกมา ถ้าเรายังคุมตรงนั้นไม่ได้ แล้วเราปล่อยให้หมากระโดดโลดเต้น ใส่สายจูงแล้ววิ่งตัดออกประตูบ้าน แล้ววิ่งลากๆๆกันไป พอมันเกิดเหตุการณ์ที่มันมีสิ่งเร้าเข้ามาหรือมีสิ่งกระตุ้นเข้ามาอย่างนี้ อะไรจะทำให้คิดว่าเราจะสามารถไปคุมหมาในสถานการณ์แบบนั้นได้ล่ะ ถูกไหม?
ตาว : ค่ะๆ
แน็ต : เพราะฉะนั้นเราต้องคุมให้ได้ตั้งแต่แรก คือถ้าทุกอย่างสงบ โอเคคุณออกมาคุณสงบ คุณเจอหมา เปอร์เซ็นก่อนที่มันจะพุ่งไปจะช้าลง แล้วทีนี้เรากระตุกสายจูงง่ายแล้ว ทีนี้การกระตุกสายจูงเนี่ยมันก็ต้องใช้แรงกันนิดหนึ่งนะ เพราะหมาเราตัวใหญ่ อย่างกระตุกใช่ไหม คืออย่างนี้ คือไวปุ้บ ไม่ใช่อย่างนี้นะ อันนี้คือลาก สมมตินี่คือคอหมา อันนี้คือลาก ออกมาๆๆ
ตาว : ใช่ อันนี้คือลาก
แน็ต : เราได้ตัวแต่เราไม่ได้สมอง คือถ้าเราปล่อบปุ้บมันก็กลับไปต่อ
ตาว : อืมๆ
แน็ต : แต่เราใช้วิธีกระตุกคืออะไร ปึ้บ สั้นๆ แค่นี้เอง สั้น
ตาว : อ๋อ กระตุกก็คือใช้ความเร็วเพื่อให้มันแรงๆ
แน็ต : ใช่ๆ เตือนสติมันน่ะว่า เฮ้ย กลับมา จงกลับมาหา กลับมาหาแม่มา เพราะถ้าสติมา ร่างกายก็ตามมาเอง นึกออกไหม
ตาว : อืม
แน็ต : เพราะอะไร พอสติมาปุ้บ กลับมาโฟกัสกับเรา หมาจะหยุดดึง หมาจะนั่งลงแล้วหมาจะมองหน้า เอาไงต่อ ไปไม่ไป อะไรอย่างนี้ แต่เรื่องนี้การฝึกหมาให้เดินเข้าสายจูงมันเลยสำคัญมาก ส่วนเรื่องที่เขาไปเห่าหมาตัวอื่นอะไรอย่างนี้ มันก็เหมือนเป็นการที่เราต้องสอนให้เขารู้ว่าหมาทุกตัวไม่ได้จะมาทำร้ายเขา เพราะฉะนั้นเอ็งจงปล่อยวาง การที่ให้หมานั่ง หมาหมอบคอย ให้เขาดูหมาตัวอื่นเดินผ่านไปผ่านมา ให้เขาดูคนเดินผ่านไปผ่านมา โดยที่เขาไม่พุ่ง อันนี้ก็คือการเรียนรู้ของหมาแล้วว่า เออ เฮ้ย อยู่นิ่งๆก็ได้นี่หว่า หมามันก็ไม่ได้จะเข้ามากัดนี่หว่า ก็โอเคนี่หว่า อะไรอย่างนี้
ตาว : อืม อาฮะ
แน็ต : นั่นแหละ แต่เนื่องจากหมาท่าตัวใหญ่เราถึงแนะนำให้เป็นสายคล้องปากนะ เพราะมันจะดึงง่ายกว่า มันจะกระตุกง่ายกว่า
ตาว : ได้ค่ะ
แน็ต : แล้วก็ถ้าจะให้ดี มาเรียนก็ดี เพื่อความปลอดภัย มันจะได้แบบว่า เหมอนถ้าครูฝึกช่วยจับช่วยอะไรอย่างนี้ เขาจะช่วยดูให้ได้ดีกว่า เพราะของเรามันหมาตัวใหญ่ ถ้าทำไม่ถูก มันหลุดไปแล้วชิ่งไปกัดชาวบ้านเขา หรือว่าเราไม่อยากให้หมาเรียนรู้วิธีที่จะกัดน่ะ
ตาว : ค่ะ
แน็ต : เพราะถ้าเขาเรียนรู้แล้วจะให้แก้ตรงนั้นมันก็ยาก
ตาว : หนึ่งขวบนี่มันยังโอเคใช่ไหมคะที่มันจะยังเชื่อฟังเรา
แน็ต : คือตั้งแต่ 9 เดือนถึงขวบ ขวบครึ่งน่ะ มันเป็นช่วงที่หมาเข้าวัยรุ่น
ตาว : อ๋อ ค่ะ
แน็ต : เพราะฉะนั้นช่วงนี้มันโคตรท้าทายเลย ตอนเด็กๆน่ารักมา ยอมทุกอย่าง ทำได้ทุกอย่าง ไอ้ช่วงนี่จะเริ่มอีโมละ ก็จะไม่ทำอ่ะ ฉันรู้นะว่าฉันต้องนั่งรอ ก็จะไม่นั่งอ่ะ แล้วจะทำไม อะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นถามว่าสอนได้ไหม ก็ยังสอนได้ แต่มันก็ใช้เวลานิดหนึ่ง แต่ถ้าตอนนี้เราไม่สอนน่ะ เกิดขวบครึ่งไปแล้วจะกลายเป็นสันดานไปเลยนะ อันนี้ยาวเลย
ตาว : ยากเลย
แน็ต : ถามว่าแก้ได้ไหม ก็แก้ได้ แต่มันก็ยากกว่าเดิม เพราะฉะนั้นตอนนี้เราต้องคุมให้อยู่
ตาว : ได้ค่ะ ได้
แน็ต : โอเค รู้เรื่อง
ตาว : ค่ะ เข้าใจค่ะ
แน็ต : ค่ะ กลับไปลองฝึกดูนะคะ แล้วถ้ามีปัญหาอะไรก็ถ่ายวีดีโอแล้วส่งมาให้แน็ตดู
ตาว : ได้ค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
แน็ต : ขอบคุณค่า สวัสดีค่ะ