แน็ต : สวัสดีค่ะ แน็ตจากเพจคนใจหมา วันนี้อยู่ช่วงคุยกับคนใจหมา เรามากับปัญหาน้องหมาเห่า เห่าๆๆ คุณอารียา มีเวลาให้ 15 นาที รบกวนเล่าปัญหาคร่าวๆมาเลยค่ะว่าเขาเห่า เห่าอย่างไร อะไรอย่างไรเอ่ย
อารียา : คือเขาเป็นแบบว่า คือเราเลี้ยง 2 ตัวน่ะนะคะ เป็นบางแก้วผสมนะคะ แล้วทีนี้ตัวพี่เนี่ยจะไม่ค่อยเห่า ตัวพี่จะเหมือนพ่อ นอกจากว่าเข้าไปในบ้าน บางแก้วเนี่ยเขาจะหวงของหวงเจ้าของอยู่แล้วใช่ไหมคะ แต่ตัวเล็กเนี่ย คือใครผ่านไปผ่านมาหน้าบ้านนอกรั้วก็เห่า แล้วเวลานั่งรถไปเนี่ย เห็นมอเตอร์ไซค์เข้ามาใกล้ เห็นหมาก็เห่า หมาเขาก็เดินอยู่ของเขาตามปกตินะคะ แต่หมาเราอยู่ในรถก็เห่าเขา แต่ตัวโตเนี่ยไม่เห่า
แน็ต : โอเค เรื่องเห่าในรถเนี่ยเดี๋ยวไว้ค่อยคุย ตอนนี้เอาเรื่องเห่าที่บ้านก่อน คือจากที่แน็ตเข้าใจก็คือ ตัวที่มีปัญหาคือไอ้ตัวเล็กใช่ไหม
อารียา : ใช่ค่ะ
แน็ต : ตัวเล็กมีปัญหา เวลาอยู่ในบ้าน ตัวเล็กชอบไปเห่าหมาตัวอื่นหรือคนแปลกหน้าที่อยู่นอกบ้าน ถูกไหม
อารียา : ค่ะ ใช่ค่ะ
แน็ต : ซึ่งหมาตัวอื่นไม่เป็น
อารียา : เห่ารถด้วย คือหมาเนี่ยเข้าใจที่เขาเห่า แต่ว่ารถที่ผ่านไปผ่านมาอะไรอย่างนี้ ชอบเห่า
แน็ต : แล้วเคยพาไปเดินข้างนอกแล้วเขาเจอหมาตัวอื่น แล้วเขาเห่าแบบกระชากสายจูงไหม
อารียา : ใช่ค่ะ เขาจะเห่า
แน็ต : โอเค เจอคนแปลกหน้าก็เห่าด้วยไหม
อารียา : ไม่ค่ะ เจอคนแปลกหน้าถ้าอยู่ข้างนอกเนี่ย จะดมเฉยๆ จะไม่วิ่งเข้าไปใส่ ไม่วิ่งเข้าไปกัดอะไร ไม่ทำท่าจะกัด แต่เขาจะเฉยๆ
แน็ต : แต่ถ้าอยู่ในบ้าน คนแปลกหน้าเข้ามา หรือถ้าเป็นเพื่อนคุณอารียาเข้ามาอย่างนี้เขาทำอย่างไร
อารียา : คือเราก็ต้องบอกเพื่อนเราว่าให้ยืนเฉยๆนะ เขาจะเข้ามาดม เข้ามาดมเฉยๆ เขาก็โอเค แต่ว่าจะหวง
แน็ต : คืออันนี้ต้องเข้าใจก่อนนะว่าหมาหวงที่ หวงเจ้าของ ไม่ใช่ว่าเพราะเขาเป็นบางแก้วนะคะ ไม่ใช่เพราะเขาเป็นบางแก้วนะคะถึงเป็นแบบนี้ แต่มันเป็นทุกสายพันธุ์ นึกออกไหม หมาหวงที่เป็นเรื่องปกติ เพราะหมาหวงอาณาเขต ตรงนี้ไม่ใช่ปัญหา เขาจำเป็นต้องปกป้องอาณาเขตของเขา มันเป็นสัญชาติญาณสัตว์นะคะ ทีนี้หวงเจ้าของอย่างนี้ มันมองอีกมุมหนึ่งก็คือเจ้าของไม่มี power ในการควบคุมหมา พี่อยู่ในตำแหน่งที่อ่อนแอกว่าหมา ทำให้เขารู้สึกว่าเขาต้องปกป้องเรา เป็นไปได้ แน็ตไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ทั้งหมด
อารียา : ค่ะ
แน็ต : ทีนี้เนี่ย หมาหวงที่ได้เราไม่ว่า แต่ถ้าเราบอกให้หยุดคุณต้องหยุด ทีนี้เนี่ย พอคนแปลกหน้าเข้ามา การให้เขาไปดมก่อนถูกต้องแล้ว เพราะอย่างไรมันก็เป็นที่ของเขาเหมือนกัน แต่ถ้าเพื่อความปลอดภัยพี่ใส่สายจูงไว้หน่อยก็ได้ แล้วให้เพื่อนพี่ยืนอยู่เฉยๆ ไม่ต้องไปมองหน้าเขาเลยนะ อย่าไปสบตาเขา ยืนเป็นหินไปเลย แล้วให้หมาดมๆ พอดมๆแล้วถ้าเขาพอใจเขาจะเดินออกไป นั่นคือเขาจบของเขาแล้ว สบายใจของเขาแล้ว ฉันรู้แล้วว่าอีนี่เป็นใคร ทีนี้เนี่ยมันจะมีเหมือนกัน แน็ตไม่รู้นะว่าตัวนี้เป็นไหม คือ พอดมๆๆเสร็จ เดินออกไป แต่พอคนแปลกหน้าเริ่มเดินปุ๊บ หันกลับมาเห่า เป็นไหม
อารียา : บางครั้งค่ะ
แน็ต : บางครั้ง โอเค ถ้างั้นในกรณีแบบนี้มันจะไปรวมในกรณีของหมาถ้าเห่าน่ะเห่าได้ไม่ว่า แต่ถ้าบอกให้หยุดคือต้องหยุด
อารียา : ค่ะ
แน็ต : เพราะฉะนั้นวิธีแก้พวกนี้เนี่ย วิธีที่เราจะปรับพฤติกรรมตรงนี้เนี่ย ก็คือแนะนำให้ใส่สายจูงหมา ใส่เป็นโซ่กระตุกหรืออะไรก็ได้ แต่อย่าใช้แบบรัดอกนะ โอเค พอเรารู้แล้วว่าจะมีคนแปลกหน้ามา เราเดินไปเอาสายมาใส่คอมันก่อนเลย ทีนี้เนี่ยจับสายหย่อนๆ อย่าให้สายตึง สำคัญตรงนี้ห้ามให้สายตึง เพราะถ้าเขาจะไปดมคนแปลกหน้าทั้งๆที่สายตึงเนี่ย มันจะทำเป็นการเผชิญคนแปลกหน้าที่ไม่ผ่อนคลาย
อารียา : ค่ะ
แน็ต : ทีนี้เนี่ย คุณอยากเข้าไปดม คุณเข้าไปดม ถ้าเดินออกมาแล้วจบไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าหันกลับมาเห่าเมื่อไร พี่ต้องกระตุกสายจูงทันที
อารียา : ค่ะ
แน็ต : การกระตุกสายจูงเนี่ย เพื่อเป็นการเตือนเขาว่าเห่าไม่ได้
อารียา : ค่ะ
แน็ต : ทีนี้เนี่ย จะช่วยได้เหมือนกันนะ ถ้ามีคนแปลกหน้าเข้ามา หมาเราเข้าไปดม ดมเสร็จหมาเดินออกมา พี่ให้รางวัลเขานิดหนึ่ง พี่ให้ขนมเขาก็ได้ เพื่อให้เขารู้ว่าการทำแบบนี้มันโอเคนะ คุณเดินเข้าดมเฉยๆได้ไม่ว่ากัน แต่ถ้าพฤติกรรมที่เราไม่ต้องการมาเมื่อไรเนี่ย เราต้องสกัดพฤติกรรมนั้น ซึ่งพฤติกรรมที่เราไม่ต้องการในสถานการณ์นี้คือ หมาเห่าคน
อารียา : ค่ะ
แน็ต : เรพาะฉะนั้นเราก็ต้องกระตุกสายจูง กระตุกแรงไหมอันนี้ขึ้นอยู่กับหมา แนะนำว่าให้กระตุกดูก่อน ถ้าไม่หยุดก็ค่อยๆเพิ่มความแรงเข้าไป เพราะถ้าพี่กระตุกแรงเพียงพอกับ level สมองหมาตอนนั้นแล้วน่ะ เพราะต้องเข้าใจนะว่าการที่เขาเห่า เขาจะเริมเข้าโหมดหูดับตาดับแล้ว มองไม่เห็นอย่างอื่นแล้ว ไม่ฟังแล้ว จะเห่าๆอย่างเดียว ถ้าเป็นแบบนั้นก็อาจจะต้องกระตุกแรงขึ้น เพราะฉะนั้นลองดูก่อน ถ้ากระตุกแบบนี้ไม่รู้สึก ลองแรงขึ้นอีกนิดหนึ่ง ถ้ายังไม่รู้สึกอีกก็ลองแรงขึ้นอีกนิดหนึ่ง
อารียา : ค่ะ
แน็ต : ถ้าให้ดีกระตุกให้ล้มก็ได้ เพราะการที่หมาตัวเขาเซเนี่ย สติสัมปะชัญญะเขาจะกลับมา นั่นแหละ อันนี้คือวิธีที่จะแนะนำ แต่ทีนี้เนี่ย พอเวลาออกไปนอกบ้าน พอไปเดินใส่สายจูงกับหมาอย่างนี้ อันนี้ก็ต้องดูแล้วว่าหมาเดินอยู่ตำแหน่งไหนกับพี่ เขาเดินอยู่ข้างหน้าพี่หรือเขาเดินอยู่ข้างหลังหรือข้างๆ
อารียา : เดินอยู่ข้างหน้า ข้างๆ แล้วแต่ค่ะ แล้วแต่ว่าจะเดิน แล้วแต่เขา แต่ถ้าเดินกับพี่เนี่ยพี่จะใส่สายจูงตลอด แต่ถ้าเดินกับสามีเนี่ยเขาปล่อย เพราะว่าเราอยู่ในอาณาเขตแบบว่า เป็นร้อยๆไร่ แล้วก็แบบว่ามีบ้านเป็นหย่อมๆน่ะค่ะ เป็นบ้านเป็นหลังๆ เพราะว่าอยู่แถวเขาใหญ่น่ะค่ะ ภูตะวัน
แน็ต : ได้ๆ บ้านแน็ตก็อารมณ์คล้ายๆกัน บ้านแน็ตก็มีเนื้อที่เยอะ มันเป็นไร่ มันเป็นฟาร์ม คนไม่ค่อยอยู่ แต่แน็ตปล่อยให้หมาเดินฟรีเหมือนกัน ไม่มีสายจูง แต่ถ้าเรียกแล้วต้องกลับ
อารียา : กลับค่ะกลับ
แน็ต : ถ้าเรียกแล้วต้องกลับ 100% นะ ไม่ใช่กลับ 20% กลับ 80% ไม่ใช่นะ เรียก 100 กลับ 100
อารียา : อ๋อ กลับค่ะ กลับ
แน็ต : ถ้าเรียก 100 กลับ 100 ก็ไม่ต้องใส่สายจูง เพราะคุณมีความควบคุมหมาได้ในระดับที่ดีมาก ซึ่งเจ้าของส่วนใหญ่ไม่มีทาง แน็ตจะไม่เชื่อเลยถ้าบอกว่าเรียก 100 กลับ 100
อารียา : สำหรับสามีเนี่ย เรียกกลับสักประมาณ 80% คือต้องรอเขา มันขึ้นอยู่กับว่าเขาวิ่งเข้าไปลึกไหม เขาก็จะแบบว่าไปเล่น บางทีเขาลืมตัวน่ะ แต่ว่าก็กลับ แต่ว่าเราเนี่ยเราไม่ปล่อย ถ้าเราเป็นคนพาเดินเราจะใส่สายจูง มันจะเป็นสายแบบว่าผ่อนได้ แบบว่า control ได้
แน็ต : ที่มันยาวๆได้แล้วก็ดึงปรู๊ดกลับมาก็ได้เหมือนกัน
อารียา : ใช่ สายยาวได้ สายสั้นได้
แน็ต : อ่ะได้ แบบนั้นก็ได้ค่ะ ไม่มีปัญหา ตราบใดที่ว่าถ้าเป็นสายยาวอย่างนี้ เวลาแน็ตสอนเจ้าของให้เดินกับหมาน่ะ เราต้องใส่คำสั่งให้เขา ว่าตอนนี้ฉันต้องการให้คุณเดินข้างๆฉัน ถ้าเป็นภาษาไทยบางคนก็จะบอกว่า “ชิด” ถ้าเป็นภาษาอังกฤษเขาก็จะบอกคำว่า “heel” ถ้าหมาได้ยินคำนี้เขาก็จะต้องรู้ว่าเขาต้องชิดข้าง
อารียา : ค่ะ
แน็ต : ทีนี้เนี่ยพอเขาเดินชิดข้างโดยที่สายจูงหย่อนสายจูงไม่ตึง สำคัญตรงนี้มาก สายจูงห้ามตึง พอสายจูงหย่อนแล้วเดินไปด้วยกัน โอเคหมาเดินดีมากเลย เราจะปล่อยให้เขาไปทำธุระแล้ว ทีนี้เราก็จะปลดคำสั่งเขา นั่นก็คือ free! หรือ ไปได้! หรืออะไรก็ได้ ให้หมารู้ว่า อ๋อ ถ้าได้ยินคำนี้ ฉันดึงคุณได้นะ ฉันเดินนำหน้าคุณได้ ฉันจะทำอะไรก็ได้
อารียา : อ๋ออันนี้ไม่มีปัญหาค่ะ ถ้าเขาจะไปเขาจะเป็นที่ของเขา เขาก็จะบอกเรา เขาก็จะไป
แน็ต : นั่นแหละค่ะ ประเด็นมันอยู่ตรงนี้แหละค่ะ หมาเป็นคนบอกเรา ไม่ใช่เราเป็นคนบอกหมา
อารียา : เราจะต้องเป็นคนบอกเขา
แน็ต : อ้าว ก็ในเมื่อพี่ปล่อยให้หมาบอกพี่ว่า จะไปขี้ตรงนี้นะ จะไปฉี่ตรงนั้นนะ จะไปดมตรงนู้นนะ แล้วเราอนุญาตให้เขาทำ ทีนี้เนี่ยถ้าเขาเจอหมาแปลกหน้าเข้ามา อะไรทำให้พี่คิดว่าพี่มีปัญญาบอกหมาว่า เฮ้ย อย่าไปไล่กัดเขา ถูกไหม
อารียา : ใช่ๆ วิ่งไปแบบ โอ้ย วิ่งไปจนแบบว่า นานน่ะกว่าจะยอมหยุด
แน็ต : ใช่ แล้วถ้าเกิดไปเจอหมาอีกตัวหนึ่งที่เขาก็แรงพอๆกัน คือหมาเราพุ่งเข้าไปอย่างนี้ อีกตัวหนึ่งก็แบบ อ้าว ไม่ยอมเว้ย กระโดดซัดกลับ งับกลับมาเลย เป็นแผลกันไป ถึงขั้นตายก็มี ทีนี้เนี่ยถ้าเจ้าของไม่คิดที่จะเป็นคนบอกหมาให้ทำอะไรน่ะ แล้วให้หมาเป็นคนบอกเราตลอดว่าให้ทำอะไรน่ะ เวลาเกิดสถานการณ์คับขันที่มันมีสิ่งเร้าขึ้นมา พี่ก็จะไม่มีสิทธิ์ ไม่มีเสียง ไม่มีอะไรเลย ในการที่จะคุมหมากลับมา นึกออกไหม
อารียา : ค่ะ
แน็ต : เพราะฉะนั้นเนี่ยถ้าในเวลาปกติเรายังไม่คิดที่จะคุมหมา เวลาหมามีปัญหา เวลาหมามีสิ่งเร้ามา
อารียา : เราก็ไม่ได้นึกถึงในข้อนี้
แน็ต : ใช่ เจ้าของส่วนใหญ่ไม่นึกตรงนี้แหละ จะแบบว่า ทำไมพี่เรียกหมาไม่กลับมาคะ ทำไมพี่ห้ามหมาไม่ได้คะ อะไรอย่างนี้ แน็ตก็จะถามว่าแล้วทุกทีห้ามได้ไหมคะ อ๋อ ทุกทีหมาอยากทำอะไรก็ทำค่ะ อะไรอย่างนี้
อารียา : โอเคค่ะ โอเค
แน็ต : เพราะฉะนั้นลองกลับไปฝึกตรงนี้ใหม่ อย่าให้เขาคุมเราเดิน เราต้องเป็นฝ่ายคุมเขาเดิน