แน็ต : สวัสดีค่ะ แน็ตจากเพจคนใจหมา วันนี้เราอยู่ช่วงคุยกับคนใจหมา เรามากับปัญหาน้องหมาชอบกระโดดใส่คน กระโดดเล่นๆเนาะ ไม่ได้กระโดดจริงจัง
มิว : ใช่ค่ะ
แน็ต : โอเค ให้เวลา 15 นาทีเล่ามาเลยว่าเกิดอะไรขึ้นเอ่ย
มิว : ปัญหาคือว่า เวลาไปข้างนอก ไปตามห้าง ไปตามสถานที่อะไรอย่างนี้ ถ้าเจอคนน่ะ คนเขาก็อยากมาเล่น พอเข้ามาเล่นปุ๊บน้องเขากระโจนขึ้นมาเลย ถ้าไปเจอหมาด้วยกันน้องก็ไม่กระโจนนะคะ แต่ถ้าเจอคนน่ะน้องจะกระโจนเลย
แน็ต : ทุกทีเนี่ย ถ้าดเวลากระโจนใส่คนนั่นแปลว่าเขาตื่นเต้นเนาะ เราก็จะสอนให้หมารู้จักว่าเวลาเข้าหาคนเนี่ย ต้องเข้าหาแบบนิ่งๆ เพราะว่าอย่างที่คุณมิวว่า ถ้าเจอเด็กตัวเล็กๆอย่างนี้ หมาเรากระโจนใส่เด็กมันก็ล้มได้เนาะ เขาเป็นพันธุ์อะไรนะคะ เฟรนช์ บูลด็อกใช่ไหม (French Bulldog)
มิว : เฟรนช์ บูลด็อกค่ะ
แน็ต : โอเค มีพฤติกรรมแบบนี้มานานหรือยังคะ
มิว : นานแล้วค่ะ จนต้อนนี้น้องขวบหนึ่งได้
แน็ต : อ๋อ โอเค คือเนื่องจากหมาตัวไม่ใหญ่มากนัก คิดว่าเจ้าของไม่น่ามีปัญหาตรงนี้มากเท่าไร ใส่สายจูงสำหรับฝึกสุนัขน่ะ ไม่ใช่สายรัดอกนะ ถ้าสายรัดอกกระตุกเขาจะไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไร ไอ้ที่ล็อคกับปลอกคอธรรมดาก็ไม่ค่อยดีเหมือนกัน หมาไม่ค่อยรู้เรื่อง ใส่เป็นสายสำหรับฝึกสุนัข เวลาเดินกับหมาให้หมาเดินข้างๆ เพื่อที่อย่างน้อยเราจะได้คุมเขาได้ในระดับหนึ่ง ถ้าเกิดเห็นคนเดินเข้ามาแล้วหมาเราเริ่มตื่นเต้นที่จะวิ่งไปหาเขา แนะนำให้กระตุกสายจูง อย่ากระตุกหมาถอย เรากระตุกเพื่อให้หมาหยุด เพราะเขาต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมตัวเอง ไม่ใช่ทุกครั้งที่ตื่นเต้นคือเป็นบ้าไปแล้ว อะไรประมาณนี้ เพราะฉะนั้นหมาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้หรอกวิธีควบคุมตัวเอง มันจึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของแล้วที่ว่า เฮ้ย ใจเย็น ถ้าจะหาคนต้องเข้าหาอย่างมีมารยาท คือเดินช้าๆ ค่อยๆเข้าไป อารมณ์เดียวกันเหมือนกันถ้าสำหรับเจ้าของบางคนที่มีปัญหาในทางกลับกัน ถ้าเกิดเจอหมาด้วยกันแล้วกระโจนใส่หมาอย่างนี้ มันก็อารมณ์เดียวกันเหมือนกันคือใส่สายจูงเวลาเราเดิน พอหมาเราเห็นคนหรือเห็นหมาตัวอื่นที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เขาไปกระโจนใส่เนี่ย ก่อนที่เขาจะกระโจน ไม่ใช่แบบกระโจนไปแล้วนะ กระโจนไปแล้วนี่มันห้ามไม่ทันละ ถ้าให้ดีดูภาษากายของหมานิดหนึ่ง ถ้าหูเขาเริ่มตั้ง หรือเขาเริ่มคราง เรากระตุกสายได้เลย
มิว : อ๋อ ค่ะ
แน็ต : เพราะสิ่งที่แน็ตต้องการเห็นจากการฝึกครั้งนี้คืออะไร คนเดินมาแต่เขายังนั่งอยู่ข้างๆเรา
มิว : อ๋อ เพราะส่วนใหญ่ถ้าคนเริ่มก้มมาเล่นอย่างนี้ เขาจะเริ่มส่ายก้นแล้ว
แน็ต : ใช่ เราก็ต้องกระตุกเตือนเขาก่อนเลย
มิว : เราอยากจะฝึกทั้งตัวโตด้วยและตัวเด็กด้วยเลย
แน็ต อ๋อ โอเค ถ้างั้นคือใช้วิธีเดียวกันเลยค่ะ อันนี้เนี่ย ถ้าให้ดีอย่าเพิ่งเอาออกไปสถานที่ที่คนเยอะๆ เพราะมันจะยากหน่อย แนะนำว่าให้ฝึกโดยที่ให้เขา เหมือนแบบเราออกไปนั่งร้านอาหารที่ไม่ค่อยมีคน คือก็มีคนแต่ไม่ถึงกับไปห้างอย่างนี้ แล้วเราลองฝึกให้เขานั่งอยู่ข้างๆเรา โดยที่เวลาคนเดินผ่านไปผ่านมามันไม่วิ่งไปใส่ มันไม่ลุกขึ้นยืน มันไม่เดิน เพราะมันจะเป็นการเริ่มสอนเขาแล้วว่า การที่คนเดินผ่านไปผ่านมา ไม่ต้องตื่นเต้นนะ หรือถ้าตื่นเต้นก็ต้องใจเย็นนะ การที่แบบกระโดดเข้าไปหาเลยอย่างนี้มันไม่โอเค เริ่มจากตรงนั้นก่อน ถ้าน้องหมาสามารถนอนนิ่งๆข้างๆเรา โดยที่มีคนเดินผ่านไปผ่านมา โดยที่คนไม่ได้สนใจเขานะ ถ้าทำถึงขั้นนั้นได้เนี่ย สิ่งที่จะทำต่อไปก็คือ เราใส่สายจูงให้หมานั่งอยู่ข้างๆเราแล้วให้คนเดินเข้ามา ถ้าทุกครั้งที่คนเดินเข้ามาแล้วหมาเราเริ่มหางดุ๊กดิ๊กๆ หูเริ่มตั้ง เริ่มคราง เรากระตุกสายจูงได้เลย ทีนี้เนี่ย ปัญหาก็คือวิธีกระตุกสายจูง กระตุกแรงนะคะ เพราะเราต้องทำให้เขาหลุดจากภวังค์ตื่นเต้นให้ได้ ถ้าทำแบบนี่แน่.. คือหมาไม่รู้สึก นึกออกไหม เหมือนเวลาเราตื่นเต้นกับบางอย่าง ถ้าจะให้เราหลุดจากความตื่นเต้นตรงนั้นมา บางทีก็ต้องใช้แรงนิดหนึ่ง ถ้าเพื่อนจะตบบ่าเรา เพื่อนก็ต้องตบแรงนิดหนึ่ง เฮ้ย ใจเย็นเว้ย ถ้าให้เพื่อนมาสะกิดแบบนี้ยังไม่รู้สึกเลย ประมาณนี้
มิว : อ๋อ ค่ะ
แน็ต : ถ้ากระตุกแล้วเขาล้ม กระตุกแล้วเขาเซได้ อันนี้ก็คือโอเค เพราะหมาเนี่ยส่วนใหญ่จะโฟกัสได้แค่อย่างเดียว ทีละครั้ง ถ้าการที่เราทำให้เขาเซได้เนี่ย เขาก็จะแบบ อุ้ย เกิดอะไรขึ้นวะ เขาก็จะลืมคนที่อยู่ตรงหน้าไปได้ แต่มันก็จะเป็นระยะเวลาสั้นๆนะ ซึ่งเราก็ต้องสอนเขาต่อไป
มิว : เราต้องออกเสียงไหมคะตอนกระตุก ต้องพูดอะไรอย่างนี้ไหม
แน็ต : จะใช้เสียงด้วยก็ได้ เพื่อที่ต่อไปเราไม่ต้องใช้กระตุก แต่ใช้เสียงเตือนแทน แต่ถ้าเสียงเตือนมันก็ต้องหนักแน่นนะ จะไปเสียงอ่อนแบบ อย่าลูก มันก็ไม่ได้ มันต้องแบบ เฮ้ย! หรือ ชู่! เสียงแข็ง ทำเสียงเตือนเขาเพื่อให้รู้ว่ามันไม่ดี สิ่งที่เขาทำมันไม่โอเค นึกออกไหมคะ
มิว : ค่ะ
แน็ต : แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเนี่ย เราต้องเตือน เราต้องกระตุก ก่อนที่เขาจะทำ นั่นคืออะไร ให้ดูภาษากายเขา ถ้าตาเขาเริ่มมุ่งมั่น มองไปทางไหน หูเขาเริ่มตั้ง อะไรอย่างนี้ ก้นเริ่มแบบ เริ่มมีการสั่นเล็กๆ นั่นแหละเรากระตุกได้เลย แต่ถ้าหมาแบบบ้าไปแล้ว กระโดดไปแล้ว กระตุกเตือนมันก็ไม่ทัน
มิว : แล้วถามนิดหนึ่งนะคะ คือว่า เขาแบบ เหมือนจะเป็นไฮเปอร์ ส่ายๆๆอย่างนี้ มันเป็นเพราะนิสัยเขาหรือมันเป้นเพราะเขาถูกตามใจมา
แน็ต : มันขึ้นอยู่กับหมานะ แต่ส่วนใหญ่ไอ้เรื่องที่แบบไฮเปอร์เนี่ยมันเป็นเพราะ หนึ่ง นิสัยหมา สองคือไม่รู้จักที่จะผ่อนคลาย คือตอนที่หมายังเป็นลูกหมาอยู่น่ะ ลูกหมามันอยู่ในวัยกำลังเล่นใช่ไหม ทีนี้เนี่ยบางตัวก็โตผ่านช่วงนั้นไป บางตัวก็ยังติดอยู่ในช่วงวัยนั้น คือเล่นๆๆ เล่นอย่างเดียว พักไม่เป็นเลย อะไรประมาณนี้ ถ้าเป็นเฟรนช์ บูลด็อกน่ะ เราก็แนะนำให้สอนให้เขา relax นะ เพราะเขาเป็นหมาหน้าสั้นใช่ไหม
มิว : ใช่ค่ะ
แน็ต : ใช่ คือหมาหน้าสั้นเนี่ย การตื่นเต้นมันจะไม่ดีต่อสุขภาพเขา เพราะเรื่องทางเดินหายใจของเขามันจะมีปัญหา ตื่นเต้นเกินไปแล้วช็อคไปเลยมันก็มีเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราก็ต้องสอนให้หมารู้จักใจเย็น นั่นคือกระตุกสาย อย่างที่สองก็คืออะไร หมายืนอยู่ใช่ไหม เอาหมาหันให้เราเนาะ เสร็จแล้วเราเอามือเนี่ย จับขาหน้ากับขาหลังฝั่งข้างในนะ แล้วก็ดันเขาขึ้นมา ให้เขาอยู่ในท่านอน นอนโดยให้เขาหันหลังให้เรา ทีนี้เนี่ยมือเรายังคงจับขาหน้ากับขาหลังด้านใน พลิกขึ้นมา ศอกนี้กดคอเขาไว้ ศอกข้างนี้กดตัวเขาไว้ เรากำลังจะสอนให้หมารู้แล้วว่าถ้าคุณมาอยู่ท่านี้เนี่ย คุณต้องผ่อนคลาย มันฟังเหมือนมันง่ายนะ แต่มันโคตรยากเลยสำหรับหมาไฮเปอร์ มันจะดิ้นสุดใจขาดดิ้น ถ้าเรากดท่านี้แล้วเนี่ย เราต้องเอาให้อยู่นะคะ กดให้ลงให้ได้ พอเขาผ่อนคลายปุ๊บ เราก็ค่อยผ่อนคลายแขนเรา
มิว : ค่ะ
แน็ต : เหมือนแบบถ้าแกดิ้นกับฉัน ศอกตรงนี้จะกดแน่นลง แต่ไม่ใช่ถึงขั้นหายใจไม่ออกนะ เราแค่กดให้เขาดิ้นไม่หลุดแค่นั้นเอง แต่ moment ที่เขาผ่อนคลายปุ๊บ ศอกอันนี้ก็จะผ่อนคลายตาม แต่อย่าเพิ่งปล่อยขานะคะ เราจะปล่อยขาได้ก็ต่อเมื่อหมาผ่อนคลาย ลิ้นเขาห้อยละ เขานอนนิ่ง แล้วเราก็ค่อยๆปล่อยขาเขาได้ ถ้าเขาเริ่มดิ้นเมื่อไรจับกดใหม่อีกรอบเลย
มิว : ค่ะ
แน็ต : อันนี้ต้องฝึกนิดหนึ่ง เพราะว่าหมาถ้าไฮเปอร์น่ะ มันจะใช้เวลา 10-15 นาทีกว่ามันจะนิ่ง ทีนี้ถ้าเจ้าของจะฝึกหมาแบบนี้เนี่ย แนะนำให้ทำให้ได้ภายในรอบเดียว ไม่งั้นรอบที่สองจะดิ้นหนักกว่าเดิม
มิว : อ๋อ ค่ะ
แน็ต : ไม่งั้นหมาจะเริ่มเกิดการเรียนรู้แล้วว่า อ๋อ ถ้าฉันไม่อยากอยู่ในท่านี้นะ ฉันก็ดิ้น ดิ้นเข้าไปเดี๋ยวแม่ก็ยอมแพ้เอง
มิว : ค่ะ
แน็ต : นั่นแหละ เราก็ใช้วิธีนี้สอนให้เขารู้ว่า โอเค เวลาคุณไฮเปอร์ คุณไฮเปอร์ได้ แต่ถ้าเราเรียกคุณกลับมานอนท่านี้คุณต้องนิ่งนะ
มิว : ค่ะ
แน็ต : งงไหม
มิว : ไม่งงค่ะ
แน็ต : โอเค มีคำถามอื่นอีกไหมคะ
มิว : ถามอีกว่า คือตอนนี้ตัวที่มีปัญหาคือตัวโตขวบหนึ่ง แต่ตอนนี้เริ่มมีตัวน้อง ตัวเด็กเข้าม คือในเมื่อตัวโตเป็นตัวแรก เขาจะเป็นเหมือนจ่าฝูง
แน็ต : ไม่เสมอไป
มิว : แล้วแบบ กลัวว่าตัวเล้กจะตามตัวโต เหมือนนิสัยจะไฮเปอร์ตามไป มันจะเกี่ยวกันไหม หรือว่าเราต้องสร้างนิสัยให้ตัวเล็กก่อน
แน็ต : ถ้าสร้าง สร้างพร้อมกันสองตัวเลย อย่าสร้างทีละตัว มันจะได้ไปพร้อมกัน ทีนี้ถ้ามาสองตัวเนี่ย ถามว่าตัวโตจะเป็นจ่าฝูงต่อไปไหมอันนี้ไม่แน่ ถ้าตัวเล็กพลังงานเขาสูงกว่า เขาคุมตัวโตได้ก็มี เห็นกันได้อยู่หลายเคส แล้วมันก็จะเริ่มสู้กัน แล้วเจ้าของก็จะเริ่มเครียดแล้วว่า ทำไมต้องสู้กัน อะไรอย่างนี้
มิว : ใช่ เขาชอบกัดแรงอย่างนี้เลย เลยกลัวว่าจะมีปัญหา
แน็ต : ถ้าเกิดกล้านะ ปล่อยให้มันกัดกันเลย อยากกัดกัดกันไปเลย แล้วเดี๋ยวมันจะมีตัวแพ้กับตัวชนะ แลว้มันจะไม่กัดกันอีกเลย ให้มันรู้ให้มันจบไปเลยว่าใครจะแพ้ใครจะชนะ เดี๋ยวค่อยมาทำแผลกันทีเดียว
มิว : ค่ะ
แน็ต : มันจะได้จบไปเลย เจ้าของส่วนใหญ่น่ะ หมากัดๆกันแล้วเราก็แยก แล้วแยกไม่ถูกวิธีอีก หมายังอยู่อารมณ์ที่แบบว่า ฉันจะฆ่าแก รอบหน้ามาเจอกันก็กัดกันต่อ 20 ปีผ่านมาก็ยังกัดกันต่อ
มิว : อ๋อค่ะ
แน็ต : แต่ส่วนใหญ่เจ้าของมักจะใจไม่แข็งพอที่จะดูหมาตัวกัดกัน แต่มันเป็นวิธีที่ธรรมชาติที่สุดแล้ว เพราะในธรรมชาติหมาเขาก็กัดกันจนยอมกันไปข้างหนึ่ง มันต้องมีตัวยอม เพราะถ้าเขากัดเพื่อฆ่าเนี่ย มันใช้เวลาไม่นาน มันล็อคคอทีเดียวจบไปเลย เป็นเรื่องของ 2 วินาทีในการกัดแล้วฆ่า แต่ถ้ากัดเพื่อเป็นผู้นำ กัดเพื่อหาความเป็นจ่าฝูง อันนี้จะสู้กันนานหน่อย เพราะต่างคนต่างไม่ยอม
มิว : แต่นิสัยก็คือฝึกปรับไปพร้อมกันเลยได้ใช่ไหมคะ
แน็ต : ใช่ เรื่องนิสัยปรับไปพร้อมกันเลยไม่ต้องห่วง เราแนะนำให้ปรับตัวโตก่อนเพราะเขาอายุเยอะกว่า เขาจะปรับง่ายกว่า เพราะตัวเล็กอายุเท่าไร
มิว : ตัวเล็กประมาณ 3 เดือนค่ะ
แน็ต : 3 เดือนหมามันยังไฮเปอร์อยู่ ถ้าจะฝึกให้เขานิ่งเนี่ยมันก็ฝึกได้นะแต่มันใช้วิธีนิดหนึ่ง ถ้าจะฝึกเนี่ยฝึกตัวโตก่อน เพื่อให้ตัวเล็กเรียนรู้ว่า อ๋อ เขานิ่งกันแบบนี้นะ อะไรอย่างนี้ แล้วเดี๋ยวตัวเล็กก็จะเกิดการ copy ตัวโต
มิว : ใช่ๆ
แน็ต : ในทางกลับกันถ้าตัวเล็กนิ่งกว่า ตัวโตจะ copy ตัวเล็กก็มีเหมือนกัน มันขึ้นอยู่กับว่าใครใหญ่กว่ากัน
มิว : คือกลัวว่าแบบว่าตัวโตยังไฮเปอร์ แล้วตัวเล็กก็จะตามตัวโตอย่างนี้ คือไฮเปอร์
แน็ต : เปอร์เซ็นตอนนี้สูง ถ้าไม่ทำนะ เพราะว่าตัวโตก็ไม่รู้จักผ่อนคลาย ตัวเล็กโตมาก็ไม่ผ่อนคลาย ก็อยู่กับคนที่ไฮเปอร์กันไป ก็ไปกันเลย
มิว : ใช่ กลัวเป็นอย่างนี้
แน็ต : ออกอ่าวกันไปเลย ประมาณนั้น ถ้าจะฝึกก็ฝึกตัวโตก่อน โดยที่ตัวเล็กนั่งดูอยู่ ถ้าตัวโตสงบแล้ว นิ่งแล้ว เราก็ให้ตัวโตนอนรอ แล้วเราก็เอาตัวเล็กมาคว่ำให้เขานอน กระตุกสายให้นิ่ง จริงๆของพวกนี้เริ่มได้อย่างแรกเลยคืออะไร จับสองตัวใส่สายจูง ยืนอยู่เฉยๆน่ะ แล้วกดให้มันนั่งให้ได้
มิว : อ๋อ ค่ะ
แน็ต : สองตัวพร้อมนะ ตัวหนึ่งซ้าย ตัวหนึ่งขวา กดให้นั่งให้ได้ ถ้ามันลุกยืนปุ๊บก็กดก้นลงไป
มิว : คือจับก้นเขาให้นั่งใช่ไหมคะ
แน็ต : ใช่ๆ กดก้นลงไปเลย พอยกก้นปุ๊บกดก้นลงไปเลย ยกก้นก็กดลงไปใหม่ เดี๋ยวมันหยุดยกเองแหละ มันเหนื่อย
มิว : ค่ะ
แน็ต : ทีนี้เนี่ย วิธีกดคือยังไง จับขาหลังเขาสองข้างเนาะ ไล่ขึ้นมาจนถึงกระดูกสันหลังข้างบน นิ้วโป้งกดไปจะเจอร่องอยู่ข้างหลังตรงกลาง ตรงก้น กดตรงนั้นไปเลย สองนิ้วแบบนี้แหละกดลงไปเลย แล้วเขาจะอยู่ใน motion นั่งเอง
มิว : อ๋อ
แน็ต : ในท่าเดียวกันกับท่าหมอบ ก็เป็นขาหน้า ไล่ขึ้นมาเจอร่องตรงกลางกดลงไป เดี๋ยวมันจะลงไปหมอบเอง นั่นแหละ เอากดให้นั่งก่อนก็ได้ ยกสายจูงขึ้น กดก้นลงพร้อมกัน เพื่อที่ต่อไปหมาจะได้รู้ว่า โอเค ถ้ามีการกระตุกสายจูงขึ้นเราต้องนั่งลง
มิว : ค่ะ
แน็ต : โอเค ไปลองดูนะคะ แล้วลองถ่ายวิดีโอมาให้แน็ตดูหน่อยก็ดีเหมือนกัน ว่าวิธีทำอย่างไรแล้วเดี๋ยวแน็ตจะได้ช่วยดูให้เนาะว่าทำถูกหรือทำผิด แล้วควรจะต้องแก้ตรงไหนอะไรอย่างไรนะคะ
มิว : ได้ค่ะ
แน็ต : โอเค มีคำถามอะไรอีกไหมเอ่ย
มิว : ไม่มีแล้วค่ะ
แน็ต : โอเค ได้ ขอบคุณมากนะคะ สวัสดีค่ะ